พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 มีนาคม 2559 - 03 เมษายน 2559

ข่าวทั่วไป Monday March 28, 2016 14:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 มีนาคม 2559 - 03 เมษายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม

  • ช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. จะมีอากาศร้อนและแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวระบายความร้อนได้ดี และสวมหมวกมีปีก รวมถึงดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และมะม่วง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1– 3 เม.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผักหากขาดน้ำ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อย จะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำไม่ให้แตกต่างกันมากและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
  • นอกจากนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะไฟอาจจะลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ รวมทั้งควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกยังมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม และใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด รวมทั้งคลุมดินและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน และระวังป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย
  • เนื่องจากช่วงนี้น้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

  • สำหรับฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในช่วงที่ผ่านมาทำให้ไม้ผลร่วงหล่น ชาวสวนไม่ควรปล่อยทิ้งไว้คาสวน ควรรีบทำลายให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชไร่และพืชผัก เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมเสียหาย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้อากาศร้อนและแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่เพาะปลูก โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชผักและไม้ผล ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม ต้นอ่อนอาจตายได้
  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ และควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค.– 3 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้อากาศร้อนและแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่เพาะปลูก โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชผักและไม้ผล ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม ต้นอ่อนอาจตายได้
  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ และควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ