พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 กรกฎาคม 2559 - 10 กรกฎาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday July 4, 2016 14:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กรกฎาคม 2559 - 10 กรกฎาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี (กล้า-ปักดำ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • ไม้ผล : ดูแลสวนให้โปร่ง กำจัดวัชพืช ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สัตว์เท้ากีบ : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน
  • สัตว์น้ำ : (ในบ่อ) เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี( กล้า-ปักดำ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า หอยเชอรี่
  • พริก – มะเขือ : หนอนเจาะผล ไรขาว แอนแทรคโนส รากเน่าโคนเน่า
  • มันสำปะหลัง : โรคหัวเน่า โคนเน่า
  • สัตว์เท้ากีบ : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี (กล้า-ปักดำ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • ตระกูลกะหล่ำ – ผักกาด : โรคเน่าเละ หนอนกระทู้ผัก
  • สัตว์ปีก : ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วย
  • ข้าวโพด : หนอนเจาะฝัก โรคราน้ำค้าง

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 7-10 ก.ค. ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน
  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) : หนอนกินใบ หนอนเจาะลำต้น โรครากเน่าโคนเน่า
  • ไม้ผล (ที่เก็บเกี่ยวแล้ว) : ตัดแต่งกิ่ง ลดความชื้นภายในสวน เก็บผลที่ร่วงหล่น ตามโคนต้นไปทำลายนอกสวน รวมทั้งควรจัดทำระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

  • ทุเรียน : หนอนเจาะผล รากเน่าโคนเน่า ดูแลสวนให้โปร่ง ลดความชื้นภายในสวน
  • มังคุด : ผลแตกเนื้อแก้วและยางไหล
  • ลองกอง : หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือก
  • ยางพารา : โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ : โรคราสนิม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ทุเรียน : หนอนเจาะผล รากเน่าโคนเน่า ดูแลสวนให้โปร่ง ลดความชื้นภายในสวน
  • มังคุด : ผลแตกเนื้อแก้วและยางไหล
  • ลองกอง : หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือก
  • ยางพารา : โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ: โรคราสนิม

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (1-3) ฝนที่ตกสะสมในระยะนี้ ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน ซึ่งพอเพียงกับการเพาะปลูกพืช เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตก ยกเว้นบางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมน้อย

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ โดยมีค่าประมาณ 25 – 30 มม. ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำจากดินและพืชมากกว่าบริเวณอื่น

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ทุกภาคของประเทศมีฝนและฝนตกหนัก โดยปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าปริมาณน้ำที่ระเหยจากดินและการคายน้ำของพืช ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ในช่วง (-1) ถึง (-10) มม. และบางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ในช่วง (-1) ถึง (-20) มม.

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตก และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ฝั่งตะวันตก สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลองคูคลองและทำทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ส่วนบริเวณที่มีฝนสะสมน้อย เช่น บางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออก ควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม โดยเฉพาะไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตทางผล หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ