พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 กรกฎาคม 2559 - 17 กรกฎาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday July 11, 2016 15:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 กรกฎาคม 2559 - 17 กรกฎาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝน ฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • พืชไร่ : โรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ โรคราสนิม
  • สัตว์เท้ากีบ : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน
  • ไม้ผล : ดูแลสวนให้โปร่ง กำจัดวัชพืช ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • มันสำปะหลัง : โรคหัวเน่าโคนเน่า
  • สัตว์เท้ากีบ : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน
  • พืชผักชนิดต่างๆ : โรคเน่าเละ โรคแอนแทรคโนส โรครากเน่าโคนเน่า และหนอนเจาะกระทู้ผัก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ) : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • สุกร : โรคไข้หวัดสุกรควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งให้อากาศถ่ายเท เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย
  • ไม้ดอกชนิดต่างๆ : โรคจุดสนิม โรคแอนแทรกโนส หนอนกินใบ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-12 ก.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) : หนอนกินใบ หนอนเจาะลำต้น โรครากเน่าโคนเน่า
  • สัตว์ปีก : ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วยโดยเฉพาะโรคหวัด
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-12 ก.ค.ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล :หนอนเจาะผล โรครากเน่าโคนเน่า
  • พื้นที่ที่มีฝนตกหนัก : ทำระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล :หนอนเจาะผล โรครากเน่าโคนเน่า
  • พื้นที่ที่ มีฝนตกหนัก : ทำระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • กาแฟ :โรคราสนิม
  • ยางพารา : โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • ปาล์มน้ำมัน : โรคยอดเน่า
  • สัตว์น้ำ (ประมงชายฝั่ง) : ฝั่งตะวันตก ระยะนี้คลื่นลมมีกำลังแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมแรง ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (1 – 10) ระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกสะสมทั่วประเทศอยู่ระหว่าง 50-200 มม.เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและตอนบนปริมาณฝนที่ตกสะสมอยู่ระหว่าง 1-20 มม. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณตอนบน และภาคเหนือบริเวณจังหวัดเชียงใหม่บางส่วน ปริมาณฝนที่ตกสะสมอยู่ระหว่าง 25-50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาปริมาณฝนที่ตกสะสมทั่วประเทศอยู่ระหว่าง 20-200 มม.เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ปริมาณฝนที่ตกสะสมอยู่ระหว่าง 5-20 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาค่าศักย์การคายระเหยน้ำทั่วประเทศอยู่ระหว่าง 15-25 มม.เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกตอนบน ค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ระหว่าง 25-30 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำมีค่าเป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ โดยมีค่า 1-150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ในช่วง (-1) ถึง (-30) มม.

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุก และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะยังคงมีฝนตกในบางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช สำหรับบริเวณพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ