พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 สิงหาคม 2559 - 07 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday August 1, 2016 15:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 สิงหาคม 2559 - 07 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1- 2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ในช่วงที่มีฝนตกชุก ควรระวังป้องกันโรคไหม้
  • ลำไย (เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้น : โรครากเน่าโคนเน่า และผีเสื้อมวนหวาน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่นกองอยู่ในสวน
  • พืชไร่ และ พืชผัก สภาพอากาศมีความชื้น : ระวังโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ โรคราสนิม หนอนเจาะลำต้น หนอนกระทู้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี อากาศมีความชื้น : โรคไหม้
  • เริ่มต้นเพาะปลูก : ไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • มะขามหวาน อากาศมีความชื้น : โรคราแป้ง และหนอนเจาะฝัก
  • สัตว์น้ำ(บ่อเลี้ยง) เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1-2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าว อากาศมีความชื้น : ศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
  • พืชตระกูลส้ม อากาศมีความชื้น : หนอนเจาะผล โรครากเน่าโคนเน่า และโรคแคงเกอร์
  • สัตว์เลี้ยง อากาศมีความชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกให้สะอาดอย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 2–5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) สภาพดินและอากาศมีความชื้น :โรครากเน่าโคนเน่า หนอนกินใบ และหนอนเจาะลำต้น
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้น : โรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรคเส้นดำ
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่ 2 - 5 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 1 - 2 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3- 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนชอนเปลือกในลองกอง
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากขาว โรคใบยาง ร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่2 - 5 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 2-5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนชอนเปลือกในลองกอง
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรครากขาว โรคใบยาง ร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่2 - 5 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (1 – 31) บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยพื้นที่ส่วนมากมีปริมาณฝนที่ตกสะสมส่วนใหญ่มากกว่า 100 มม. โดยฝนสะสมมากที่สุด 300-600 มม.อยู่ที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออก

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม. เป็นส่วนใหญ่สำหรับบริเวณที่มีฝนตกสะสมสูงสุด150-300 มม.อยู่ที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออก

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมตั้งแต่ 20 – 30 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมระหว่าง 30 – 35 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาสมดุลน้ำมีค่า (–20) - (100) มม.เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีค่สมดุลน้ำ 100-200 มม. ส่วนด้านตะวันตกของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสมดุลน้ำมีค่า (-20)-(-30) มม.

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งฝนที่ตกจะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และเจริญเติบโตทางผล ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่มในภาคใต้ฝั่งตะวันตก แลภาคตะวันออกบริเวณจังหวัด จันทบุรี และตราด เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ