พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 กันยายน 2559 - 15 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday September 9, 2016 14:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 กันยายน 2559 - 15 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว โดยเฉพาะลำไย เกษตรกรควร ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นฟื้นตัว มีเวลาพักตัวได้นาน เพื่อเตรียมตัวแตกตาดอก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พืชผัก ดินและอากาศชื้นเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคเน่าเละในกะหล่ำปลี โรคใบจุดในถั่วฝักยาว โรคแอนแทรกโนสในแตงกวา เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ในฤดูฝนศัตรูสัตว์ เช่น เหลือบ ริ้น และไร เจริญเติบโต ได้ดี เกษตรกรควรระวังศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง
  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น โรคหัวเน่า โรคเน่าแห้ง และโรคแอนแทรกโนสในมันสัมปะหลัง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9-13 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพราะอาจมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบฝนในโรงเรือนและอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล เกษตรควรกำจัดใบและกิ่งไม้ที่ผุหรือมีโรคและศัตรูพืชทำลายไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา : อากาศชื้น เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • สัตว์น้ำ ในช่วงที่มีคลื่นลมแรงผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 13-15 ก.ย. ในช่วงวันที่ 10-12 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือก และผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • สัตว์น้ำชายฝั่ง ในช่วงที่มีคลื่นลมแรงผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา (ฝั่งตะวันตก) อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • สัตว์น้ำชายฝั่ง (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงที่มีคลื่นลมแรงผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในระยะ 7 วันข้างหน้า

  • ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (วันที่ 1-8 ก.ย.) ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม ทำให้มีฝนสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนสะสมสูงสุด 200 – 400 มม. ที่จังหวัดระนองและพังงา
  • ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนสะสมมากกว่า 40 มม. เป็นส่วนมากยกเว้นบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ตอนกลางของภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่มีฝนสะสมน้อยกว่า 40 มม.
  • ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. ยกเว้นภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-50 มม.
  • สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาสมดุลน้ำมีค่าบวกเป็นส่วนมาก โดยสมดุลน้ำสูงสุดอยู่ที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีค่า 200-400 มม. ส่วนบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ตอนกลางของภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง (-1) ถึง (-30) มม.
  • คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา แต่บางพื้นที่ค่าสมดุลน้ำยังคงมีน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรดูแลระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันน้ำท่วมขังเวลามีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ