พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 มกราคม 2560 - 29 มกราคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday January 23, 2017 14:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 มกราคม 2560 - 29 มกราคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-29 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว ต่อเนื่อง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • พืชไร่พืชผัก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักในระยะนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ซึ่งอาจระบาดได้ทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ผลผลิตการเกษตร ระยะนี้จะมีหมอกบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 25-26 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 27-29 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • เกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะระยะผลิดอกออกผลจะเป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได่ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หรือ ให้น้ำพืชในช่วงเย็นและค่ำ รวมทั้งควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหย รักษาความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 23-24 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสและในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

  • ไม้ผลสำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต และร่วงหล่นได้ การติดผลลดลง
  • ยางพาราเนื่องจากสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • พื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23-26 ม.ค. 60 มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ส่วนตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 24
  • 26 ม.ค. 60 ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะทางตอนกลางของภาคหากปริมาณฝนลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • เกษตรกร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 23
  • 25 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2
  • 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรหากปริมาณฝนลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • เกษตรกร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ