พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 กันยายน 2560 - 10 กันยายน 2560

ข่าวทั่วไป Monday September 4, 2017 14:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กันยายน 2560 - 10 กันยายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนบนของภาคระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรเตรียมกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน ควรหมั่นสำรวจโรงเรือนเพราะอาจมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบฝนในบริเวณโรงเรือน และอาจทำร้ายสัตว์ที่เลี้ยงได้ ดังนั้นหากพบสัตว์มีพิษดังกล่าวควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้มีฝนตกสลับกับมีแดดในบางวัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ หากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อไม้ให้ระบาดไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เกษตรกร ในช่วงที่มีฝนตกทำให้บางพื้นที่มีน้ำขัง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคเล็บโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูก พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ อาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-6 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7–10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • สัตว์เลี้ยง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงขึ้น ดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น หลังคาไม่รั่วซึม แผงกันฝนสาดไม่ชำรุด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน ทำให้ต้นพืชเสียหาย และตายได้
  • พืชไร่และพืชผัก สำหรับพื้นที่การเกษตรกรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
  • ไม้ผล ระยะนี้ทางภาคไต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหยุดสลับกัน เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกิน ใบและยอดอ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอก ออกผลลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
  • ชาวเรือและชาวประมง ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ