พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 ตุลาคม 2560 - 10 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday October 4, 2017 16:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 ตุลาคม 2560 - 10 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. จะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรง บางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ในช่วงนี้จะมีฝนตกสลับกับมีแดดในบางวัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 ต.ค. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • ข้าวนาปี สำหรับทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้ เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรเสริมแนวขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 4-6 ต.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล ในช่วงนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้ตอนบนจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ตลอดช่วง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรเสริมแนวขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้ตอนบนจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ตลอดช่วง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรเสริมแนวขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
  • ยางพารา ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ออกประกาศ 04 ตุลาคม 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ