พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 ตุลาคม 2560 - 15 ตุลาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday October 9, 2017 16:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 ตุลาคม 2560 - 15 ตุลาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีลมกระโชกแรง บางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเนื่องจากระยะต่อไปจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง ประกอบกับระยะต่อไป ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝน และระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันร่างกายเจ็บป่วย รวมทั้งจัดเตรียมและจัดหาวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาใว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกันลมหนาวและอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค และมีแหล่งเก็บกักน้ำเป็นของตนเอง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สัตว์เลี้ยง ส่วนบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือเป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ อย่าให้น้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • เกษตรกรกร ในช่วงที่มีฝนตก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • ไม้ผล ในช่วงที่มีฝนตกโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นและใบพืชเสียหาย การผลิดอก ออกผลลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงเป็นบางช่วง แต่ก็งยังคงมีฝนตก โดยทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวที่พัดพาไอน้ำมาจากมหาสมุทรอินเดียทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ไว้ด้วย
  • กาแฟ ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคใบจุดเป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผล เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า ในไม้ผล โรคราสีชมพูในลองกอง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงเป็นบางช่วง แต่ก็งยังคงมีฝนตก โดยทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวที่พัดพาไอน้ำมาจากมหาสมุทรอินเดียทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ไว้ด้วย
  • กาแฟ ในช่วงที่มีฝนตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคใบจุดเป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ออกประกาศ 09 ตุลาคม 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ