พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 1 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Friday December 1, 2017 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 144/60

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมี ลมแรง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 -7 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือนในช่วงวันที่ 1-3 ธ.ค. บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังคงต้องระวังเรื่องฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสม และคลื่นลมที่ยังแรง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงนี้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ส่วนในช่วงวันที่ 6 -7 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในระยะนี้มีอากาศหนาวเย็น และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง เนื่องจากในช่วงที่อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิน้ำจะลดลงทำให้สัตว์น้ำเครียดและจะกินอาหารน้อยลง เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารที่ให้เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและปรับอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ส่วนในช่วงวันที่ 6 -7 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในระยะนี้มีอากาศหนาวเย็น และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ ในช่วงนี้ไม่มีฝนตกทำให้ปริมาณน้ำที่สูญเสียจากดินและพืชสูง ทำให้ความชื้นในดินลดลง สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีควรวางแผนการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น รวมทั้งควรมีน้ำสำรองไว้ให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต ถ้าพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ส่วนในช่วงวันที่ 6 -7 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่ได้เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ส่วนในช่วงวันที่ 6 -7 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในระยะนี้มีอากาศเย็น และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 -2 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100 % ในช่วงวันที่ 3-7 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 %

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 1 -2 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่และฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100 % ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ธ.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในระยะนี้จะมีฝนตก โดยในวันที่ 1-2 ธ.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นฝนจะลดลง อาจทำให้มีพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในที่ลุ่ม ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในลองกอง เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

อนึ่ง ในวันที่ 1-3 ธ.ค.บริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ต่อจากนั้นทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 1-7 ธ.ค. 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (วันที่ 1-30 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-50 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคกลางตอนล่างที่มีปริมาณสะสม 100-150 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 100-1,200 มม. โดยบริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมระหว่าง 800-1,200 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-50 มม. สำหรับภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมามีปริมาณฝนสะสม 1-50 มม. และตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีปริมาณฝนสะสม 50-800 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสมบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 25 - 30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนมีสมดุลน้ำสะสมเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ โดยมีค่า (-1)-(-30) มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงราย มีสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก โดยมีค่า 1-20 มม. สำหรับภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมามีสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ โดยมีค่า (-1)-(-20) มม. และตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก โดยมีค่า 1-600 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรจึงควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกตามความเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรจัดทำระบบระบายน้ำในพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกัน น้ำท่วมขังโคนต้นพืชเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ