พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 7 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday March 7, 2018 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7-13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 29/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณภาคใต้มีกำลังปานกลางโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อน ส่วนภาคใต้มีฝนลดลงและคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค.มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-21องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
  • ในระยะนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค.มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. อากาศร้อน และมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
  • ในระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. มีเมฆบางส่วนอุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. อากาศร้อนและมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-9 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และควรใช้น้ำทางด้านการเกษตรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-13 มี.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตรนอกจากนี้ชาวสวนไม้ผลควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและลำต้นโค่นล้มเนื่องจากลมกระโชกแรง
  • ในระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7-8 และ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7-8 และ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-40 ของพื้นที่เกษตรกรควรกักเก็บไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำ บริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินนอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 7-13 มี.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ในช่วงวันที่ 1-6 มีนาคม 2561) บริเวณประเทศไทยมีฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. เป็นส่วนใหญ่โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.เป็นส่วนใหญ่ โดยฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม. โดยภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตอนล่าง และภาคตะวันออกด้านตะวันตก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม25-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีค่าสมดุลน้ำสะสม (-30)-(-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนตกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับในระยะ 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง รวมทั้งไม่ควรอยู่กลางแล้ง และปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ