พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 9 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday March 9, 2018 14:58 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 30/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-11 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนมีฝนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณภาคใต้มีกำลังปานกลางโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้มีฝนลดลงและคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-12 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อน อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง
  • ในระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน อาจเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น เกษตรกรจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-11 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณ ห ภูมิสูง สุด 26 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีอากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตร ที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว หากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • แม้ระยะนี้จะมีฝนแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มากเกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม และควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหย
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูร้อนเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-11 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนร้อยละ 10ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. และในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีอากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว หากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-11 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นและมีอากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับสวนผลไม้ หากในช่วงที่ผ่านมามีผลร่วงหล่นเนื่องจากลมแรง เกษตรกรควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังให้ลึก ไม่ควรกองสุมอยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนฝนที่ตกในบางช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทาง ตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2เมตร ส่วนในวันที่ 12-15 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • แม้บางพื้นที่จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายไม่มากยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สำหรับในช่วงวันที่ 9-11 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 9-15 มี.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ในช่วงวันที่ 1-8 มีนาคม) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม. โดยภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคกลางและภาคตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-70 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-20 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค. จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองแข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ