พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 9 - 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday April 9, 2018 15:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 43/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

คำเตือนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ส่วนอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากในช่วงกลางวันและกลางคืน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับลิ้นจี่และลำไยที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันผลผลิตชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็นรวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชเช่นหนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไยซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวันเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันสัตว์เครียดอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้หมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์เจ็บป่วยควรแยกออกแล้วทำการรักษา
  • แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนในวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย และควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต
  • ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด34-38 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้มีฝนตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง โดยการให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 9-15 เมษายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนเมษายน (ในช่วงวันที่ 1-8 เมษายน) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัด สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และลพบุรี ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.สำหรับภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. ส่วนภาคใต้ตอนล่างส่วนมากมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม. ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบคือ (-1)-(-40) มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะมีค่าสมดุลน้ำสมสมเป็นบวก 1-70 มม. ที่บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณประเทศไทยตอนบนในตอนปลายของช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว และควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่าเหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ