พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 4 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday May 4, 2018 15:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 54/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ค. และ 9 – 10 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค.ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองลดลง สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ค.

คำเตือน ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ค. และ 9 - 10 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 พ.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. และ 9 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล หากผลร่วงหล่น ในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรไม่ควรปล่อยใว้ในบริเวณสวนแต่ควรรวมรวมแล้วนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช เนื่องจากระยะกลางเดือนนี้ไปจะเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงเหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในฤดูฝนนี้ ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูกพืช แต่ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่ดี เกิดความชื้นสะสมในแปลงปลูกนำมาซึ่งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา หากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกพืชไปตามทิศทางลม เพราะจะทำให้ระบายอากาศได้ดีลดความชื้นในแปลงปลูกลดอัตราการเกิดโรคจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. และ 9 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรจัดเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูกพืช แต่ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา เนื่องจากในระยะปลายเดือนนี้จะเป็นช่วงฤดูฝน ความชื้นในดินและในอากาศจะสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึมและจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. และ 9 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อมีฝนตกหนักในช่วงฤดูฝน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมสถานที่อพอพสัตว์เลี้ยง และอาหารสัตว์ไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับส่องสว่างในยามค่ำคื่นเอาไว้ให้พร้อมใช้งานและหากเกษตรกรต้องอพยพไปด้วยควรเตรียมอาหารและน้ำดื่มเอาไว้ให้พร้อม

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. และ 9 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตร และโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อน และยอดอ่อนทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากระยะกลางเดือนนี้เป็นต้นไปจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกเกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำ ตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤษภาคม (ในช่วงวันที่ 1-3 พฤษภาคม) ประเทศไทยส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 0-50 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน และบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 50-150 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ทางตอนล่างของบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงภาคเหนือ และภาคใต้ ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำมากกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกคือ 1-200 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีค่าสมดุลน้ำสมสมเป็นลบ (-1) -(20) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีฟ้าคะนอง และฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยยังคงมีฝนกับฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะ ดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอดีแล้ว จึงค่อยลงมือปลูก รวมทั้งไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป และควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดโรคพืชจากเชื้อรารวมทั้งควรชุบท่อนพันธุ์และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื่อรา และจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ