พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 - 27 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday September 21, 2018 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 กันยายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 114/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 61 ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ และภาคตะวันออกยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-27ก.ย. 61 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนลดลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝน จะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีปริมาณฝนลดลง พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมที่ผ่านมาเกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกแล้วพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม รวมทั้งกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ เช่น หนอนเจาะ ลำต้นและหนอนเจาะฝักในข้าวโพด เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวันจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดโรคระบาดได้ง่าย เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง หากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของต้นพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย และผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลโรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-27 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-24 ก.ย. 61 ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บรีเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 21-27 กันยายน 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (ในช่วงวันที่ 1-20 ก.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม.เว้นแต่ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 400-800 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. เว้นแต่ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 150-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. โดยภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-400 มม. โดยภาคตะวันออกตอนล่าง มีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-400 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-200 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-200 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 21-23 ก.ย.ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ก.ย. ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง เกษตรกรบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนอ่อนของพืชทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ