พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 5 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday October 5, 2018 14:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 5 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 120/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 61 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 61 ทางตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้มียังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง พายุใต้ฝุ่น “กองเร็ย” (KONG-REY) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี ในช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2561 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประทศไทย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่ความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 61 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีลมแรง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำ ป่าไหลหลาก และน้ำ ล้นตลิ่งได้ ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 61 มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30ของพื้นที่ กับมีลมแรง และมีอากาศเย็นในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-8 ต.ค. 61 มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และมีอากาศเย็นในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยอากาศจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากในตอนเช้าและตอนกลางวัน รวมทั้งมีฝนตกเล็กน้อย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำ เสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณชายฝั่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ เช่นโรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-11 ต.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-4 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 4 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 0 - 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักหลายพื้นที่ และหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากในระยะนี้เป็นช่วงปลายของฤดูฝน นอกจากนี้เกษตรกรควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนักและเกษตกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลงด และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ