พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday October 26, 2018 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันสูกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 129/61

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26-29 ต.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นสำหรัภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง โดยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร

ลักษณะสำคัญทาง ในช่วงวันที่ 26-29 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศลาว เวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 1 พ.ย.บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง โดยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ตลอดช่วง สำหรับในช่วงวันที่ 27-31 ต.ค. เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ระยะนี้เป็นต้นฤดูหนาว สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรงเกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 27-29 ต.ค. 61 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่30 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด29-31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ระยะนี้เป็นต้นฤดูหนาว สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3 - 6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูหนาวให้กับสัตว์ด้วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ปลูกส้มเขียวหวานซึ่งอยู่ในระยะใกล้เก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า ชาวสวนไม้ผลควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนรังเจาะลำต้นในทุเรียน หนอนชอนใบในมังคุด และหนอนชอนเปลือกลำต้นในลองกอง เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออกความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วงเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกกาแฟซึ่งอยู่ในระยะติดผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมและโรคผลเน่า เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ปลูกลองกองซึ่งอยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสีชมพู และโรครากเน่า-โคนเน่า เป็นต้น
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 26 ต.ค. – 1 พ.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-25 ต.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม. เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกตอนล่างที่มีปริมาณฝนสะสม 150-300 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 200-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 19-25 ต.ค.) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสม 25-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-25 มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–150 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) – (-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ช่วงวันที่26-29 ต.ค.61 ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 ต.ค. – 1 พ.ย.61 บริเวณประเทศไทยตอนบนฝนจะลดลงและมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่งเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนควรกักเก็บน้ำใว้ใช้ด้านเกษตร ในช่วงที่มีฝนน้อย และควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชเสียงหายได้ สำหรับเกษตรกรในภาคใต้ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ