พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday October 29, 2018 13:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 130/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 4 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ลักษณะสำคัญทาง ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง ส่วนบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดสำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง หลังจากนั้นในวันที่ 4 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงทำให้มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง อนึ่ง ในวันที่ 4 พ.ย. บริเวณภาคตะวันออกเฉียง และภาคตะวันออก จะมีหมอกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ สูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-9 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ผู้ที่ปลูกไม้ผล โดยเฉพาะลิ้นจี่และลำไย ซึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ควรกำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้ดินบริเวณโคนต้นพืชแห้ง และป้องกันการแย่งน้ำและธาตุอาหารของพืชที่ปลูก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 4 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19-22องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวนเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากร่างกายอ่อนแอจะเจ็บป่วยได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้หากความชื้นในดินยังคงมีอยู่ แต่ควรมีน้ำ สำ รองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต และผลิดอกออกผล หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • ในช่วงฤดูหนาวปริมาณน้ำระเหยจะมีมากความชื้นในดินลดลงเกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยง เพราะอาจเจ็บป่วยได้ง่าย หากพบควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • เนื่องจากปริมาณฝนที่ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 3 พ.ย. อากาศเย็นกับมีลมแรงอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 4 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในระยะต้นฤดูหนาวเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนผลไม้ ยังคงต้องระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

โดยดูแลสภาพสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวน ป้องกันโรคดังกล่าว

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 4 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 4 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ภาคใต้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันตกกับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 31ต.ค. - 4 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า2เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. – 4 พ.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (ช่วงวันที่ 1-28 ต.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่ภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 22-28 ต.ค.) ประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่ในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-30 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30-35 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนบนและตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-70 มม. สำหรับภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1–100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ทางตอนล่างของภาค ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) –(20) มม.

คำแนะนำ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซียสเซียส จนทำให้มีอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนที่ลดลง เกษตรกรควระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ สำหรับภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วงฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก และควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ