พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Friday November 16, 2018 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 16 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 138/61

การคาดหมายลักษณะ ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. ปรเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนยังคงฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนผ่านเข้ามาบริเวณปลายแหลมญวณเข้าสู่บริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3องศาเซลเซยส สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-22 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนที่ตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด29-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย.อุณหภูมิจะลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารที่ให้สัตว์น้ำลงเนื่องจากอากาศที่เย็นทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ สุด 10-14 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว ไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากปริมาณฝนที่ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนกับฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยาง โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกป้องกันโรคดังกล่าว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำตลอดจนสันดอนปากแม่น้ำอย่าให้ตื้นเขินน้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร เมื่อมีฝนตกติดต่อกันและมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงวันที่ 20-22 บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-22 พ.ย. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ช่วงวันที่ 1-15 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม.โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสม 300-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 9-15 พ.ย.) ประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนที่มีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 25-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออกที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนบน บางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออกตอนล่างที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-40 มม.

สำหรับภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 10–150 มม.เว้นแต่ทางตอนล่างของภาคที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) -(-20) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ภาคใต้มีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนกับฝนฟ้าคะนองและอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากค่าสมดุลน้ำสะสมบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่มีค่าเป็นลบ พื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชตามความเหมาะสม ส่วนภาคใต้จะมีฝนกับฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดทำระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ที่จะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ