พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 3 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday December 3, 2018 15:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 145/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนมีหมอกบางในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น อากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเชลเซียสในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเชลเซียส สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ทำให้บริเวณดังกล่าวกับมีหมอกบางในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะ หนาวเย็นลงกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนให้ระมัดระวังสัญจรบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. ขอให้เกษตรกรดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็น โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้าเหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบควรรีบกำจัด
  • ส่วนเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรมาแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง2-4 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันกับมีลมแรงทำให้น้ำระเหยออกจากบริเวณผิวดิน เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและเป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรมาแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณ ห ภูมิสูง สุด 32 -35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่ได้เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะสัตว์ปีก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเชลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงเกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเตรียมแตกตาดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำ รอจนเห็นดอกที่ชัดเจนและเพียงพอแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยเริ่มให้น้ำในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วจึงค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 – 6 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาคมีปริมาณฝนตกน้อยเกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ รวมทั้งกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ด้วย
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในที่ลุ่ม
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 3-9 ธ.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ช่วงวันที่ 1-2 ธ.ค.) ประเทศไทยตอนบนพื้นที่ส่วนใหญไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก และภาคกลางตอนบนด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสม 1-100 มม. โดยบริเวณจังหวัดนครราชสีมามีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. ส่วนมากบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 26 พ.ย. – 2 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-100 มม.ส่วนมากได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหนับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 1-200 มม. โดยทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-35 มม. โดยบริเวณภาคกลางด้านตะวันออก ภาคตะวันออกด้านตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง เป็นบริเวณที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันตกที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-70 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-150 มม. เว้นแต่ทางตอนบนของภาค และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบคือ 1-30 มม.

คำแนะนำ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นและเสียหาย จากหมอกและน้ำค้างได้ รวมทั้งควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังเมื่อขับรถผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนและฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ที่จะทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ