พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday December 17, 2018 15:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 17 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 150/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็น และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอก ในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีลมแรง และอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีฝนบางแห่ง แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกัน การเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมี ลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย และมีฝนเล็กน้อย บางแห่งในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ซึ่งอยู่ในระยะพักตัวเตรียมออกดอก และออกดอก ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น ไรสี่ขาและหนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมี ลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียสและมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลแตงควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในวันที่ 17-18 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำ ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลพริก-มะเขือควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนซึ่งอยู่ในระยะออกดอกควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่19-23 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกกาแฟซึ่งอยู่ในระยะเก็บผลผลิตควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคและศัตรูพืช เช่น โรคผลเน่า
และมอดเจาะผลกาแฟ เป็นต้น
  • ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 17-23 ธ.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ช่วงวันที่ 1-16 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. สำหรับภาคใต้ที่มีปริมาณฝนสะสม 100-600 มม. โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีปริมาณฝนสะสม 200-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา (ช่วงวันที่ 10-16 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 300-600 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 10-25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคตะวันออกตอนบนที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-30 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นลบ คือ (-1) - (-30) มม. เว้นแต่ในบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบนที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวก คือ 1-10 มม. สำหรับภาคใต้ที่มีค่าสมดุลน้ำสะสมเป็นบวกโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-400 มม.

คำแนะนำ สัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับภาคใต้จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผักชนิดต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ