พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 9 - 15 มกราคม พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Wednesday January 9, 2019 15:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 มกราคม พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 4/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. 62 ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคอื่นๆมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11-12 ม.ค. 62 ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ในบริเวณยอดดอย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ภาคใต้มีฝนน้อย

ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 62 ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. 62 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านภาคเหนือไปปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนแล้ว ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11-12 ม.ค. อุณหภูมิลดลง และมีอากาศหนาวเย็นลง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 10-12 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยบนมีอากาศหนาวเย็นลงและอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

คำเตือน ในช่วงวันที่ 10-15 ม.ค. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. 62 อากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-10 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง และควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 62 อากาศเย็น และอุณหภูมิจะลดลง1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ สุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียสในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยและข้าวโพด ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9-13 ม.ค. 62 มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหูมิจะลดลง 1-2 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งควรขับรถด้วยความระมัดระวังผ่านบริเวณที่มีหมอก
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 9-13 ม.ค. 62 มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหูมิจะลดลง 1-2 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวนอกจากนี้ควรระวังอันตรายและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้น
  • บริเวณพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้รวมทั้งควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 9-15 มกราคม 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมกราคม (ในช่วงวันที่ 1-8 ม.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคเหนือมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-70 มม.สำหรับภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-300 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-300 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ