พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 1 - 7 เมษายน พ.ศ. 2562

ข่าวทั่วไป Monday April 1, 2019 14:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 เมษายน พ.ศ. 2562

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 39/62

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง

ลักษณะสำคัญทาง ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนขึ้นโดยทั่วไป ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และบริเวณสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณทางด้านตะวันออกและทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ส่วนในวันที่ 4-7 เม.ย.62 อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 1-4 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่ง และลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำในระดับบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรเก็บกักน้ำฝนที่ตกในช่วงนี้เอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรสำรวจวัสดุและอุปกรณ์ที่ผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม
  • ระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ฝนที่ตกในระยะนี้ จะเป็นผลดีกับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก ซึ่งจะทำให้การออกดอกของพืชดีขึ้น แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช จำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอกออกผลลดลง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำในระดับบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 1-7 เม.ย. 2562

ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ในช่วงวันที่ 1-31 มีนาคม 2562) ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง บริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด มีฝนสะสม 100-200 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกตอนล่างบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม ประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 35-40 มม.

สมดุลน้ำ ประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ คือ (-10) - (-40) มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกด้านตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกบางพื้นที่ มีค่าสมดุลน้ำ 1-70 มม.

คำแนะนำ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีรายงานฝนตกหลายหนักบางพื้นที่ สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง รวมทั้งไม่ควรอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้ง ขณะฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่ซึ่งสมดุลน้ำเป็นลบโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ