พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 3 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday February 3, 2020 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 15/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-15 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 9 ก.พ. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 15 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-10 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรค ราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจร โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อยสภาพอากาศที่แห้งโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3 - 7 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังขณะใช้รถใช้ถนน สำหรับชาวสวนมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำ โดยฉีดน้ำบริเวณทรงพุ่มก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้ เนื่องจากระยะนี้และฤดูต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่ฝนตกน้อย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 8 ก.พ. 63 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในวันที่ 9 ก.พ. 63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 - 8 ก.พ. 63 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในวันที่ 9 ก.พ. 63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนน้อย สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ โดยในระยะกลางสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้วอ่อนกำลังลง ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากเมียร์มาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต้นสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศ หนาวเย็น และมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีรายงานฝนและฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้อิทธิพลจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุม มีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ทำให้มีฝนในช่วงดังกล่าว

ภาคเหนือ อากาศหนาวเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันที่ 28 ม.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยเฉพาะในระยะกลางสัปดาห์มีอากาศหนาวเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปทางตอนบนของภาค กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่กับฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ เว้นแต่ในระยะกลางสัปดาห์มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด ตราด ชุมพร และนราธิวาส

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ