พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 24 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Monday February 24, 2020 14:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 24/63

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 24 ก.พ. - 1 มี.ค.63 ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกใน/ ตอนเช้า แต่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค.63 บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเป็นบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 25 ก.พ. - 1 มี.ค.63 มีฝนลดน้อยลง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากควรเพิ่มความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านในบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25-26 ก.พ.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-16 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • อากาศเย็น กับหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-27 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 1 มี.ค.63 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • อากาศเย็น กับหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรเพิ่มความระมัดระวังขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผัก จากสภาพอากาศที่แห้งและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรเกษตรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และเป็นการรักษาอุณหภูมิดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ.63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค.63 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • มีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด จนส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 24-26 ก.พ.63 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. 63 มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • จากสภาพอากาศที่แห้งและมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และไม้ผล นอกจากนี้ควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต และควรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาคลุมบริเวณแปลงปลูกหรือบริเวณโคนต้นพืช เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและเป็นการรักษาอุณหภูมิดินไปด้วย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 25 ก.พ. - 1 มี.ค.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • จากสภาวะที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผักไว้ด้วย สำหรับชาวสวนทุเรียน ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบติดหรือโรคใบไหม้ โรคราสีชมพู เป็นต้น อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ลักษณะอากาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2563 บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดสัปดาห์ โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมดังกล่าว ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ สำหรับฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์ ทำให้มีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่ในวันที่ 17 ก.พ. และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ทางชายฝั่งตอนล่างของภาคในวันที่ 18 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18 ก.พ. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีรายงานฝนตกหนักมากที่จังหวัดชุมพร ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง และระนอง โดยปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 163.8 มิลลิเมตร ที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ