พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Wednesday February 26, 2020 15:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 25/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 63 ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนน้อย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 3 มี.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน

คำเตือน ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจรโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมอ่อน ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. – 3 มี.ค. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 63 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 63 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.พ. - 3 มี.ค. 63 มีเมฆบางส่วน โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตาย สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 26 – 27 ก.พ. 63 มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 3 มี.ค. 63 มีเมฆบางส่วน โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับชาวสวนมะม่วงควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราดำ โดยหากพบโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นด้วยน้ำบริเวณทรงพุ่มก็จะลดการระบาดของโรคดังกล่าวลงได้ เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 – 27 ก.พ. 63 ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. - 3 มี.ค. 63 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • สำหรับทางตอนบนและตอนล่างของภาคซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19 – 25 กุมภาพันธ์ 2563 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักในภาคใต้ ได้แก่ บริเวณจังหวัดชุมพร และนครศรีธรรมราช โดยวัดปริมาณฝนสูงสุด ได้ 56.6 มิลลิเมตร ที่ อ.สวี จ. ชุมพร เมื่อวันที่ 19 ก.พ.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ