พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday March 6, 2020 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 29/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน สำหรับภาคใต้ มีฝนน้อย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝน ฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7-12 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 6-10 มี.ค. ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และไม้ผล

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 6-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 6-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้งในเงาะ เป็นต้น นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออกเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในระยะปลายช่วง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนและฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนบางแห่งในบางวัน เนื่องจากลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลงในระยะครึ่งหลังของช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีเล็กน้อยถึงปานกลางบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนและฝนฟ้าคะนองมากกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนและฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนและฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 33 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 28 ก.พ. และ 4-5 มี.ค. มีฝนและฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 33-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันที่ 28 ก.พ. และ 4, 5 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง

ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก สำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครสวรรค์ และจันทบุรี

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ