พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 5 เมษายน พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Monday March 30, 2020 13:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 5 เมษายน พ.ศ.2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกจิและสังคม ฉบับที่ 32/63

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 30-31 มี.ค.63 บริเวณประเทศจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย.63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้บางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. 63 อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออก และทางด้านตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

  • ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร นอกจากนี้เกษตรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30-31 มี.ค.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 1-5 เม.ย.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเลี้ยงสัตว์เนื่องจากมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรง และจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โลงแจ้งในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 2-5 เม.ย.63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกไหลลงบ่อ เพราะอาจทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำและสัตว์น้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 30-31 มี.ค.63 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในวันที่ 1-5 เม.ย.63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร สำหรับไม้ผลในระยะนี้ เกษตรกรควรสำรวจและผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งไม้ผลฉีกหัก และต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย.63 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 2-5 เม.ย.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย.63 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 2-5 เม.ย.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ตลอดช่วง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและไม้ผลไว้ด้วย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 23-29 มีนาคม 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีรายงานฝนเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่บริเวณตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเลยและนครพนมในวันที่ 23 มี.ค. บริเวณจังหวัดอุดรธานีและอุบลราชธานีในวันที่ 24 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 24 และ 25 มี.ค. และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 23 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 24 มี.ค.

ช่วงที่ผ่านมาไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุดรธานี มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ