พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 เมษายน พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Wednesday April 8, 2020 13:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 8 - 14 เมษายน พ.ศ.2563

ออกประกาศวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 43/63

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย.63 อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • จากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่ายกายขาดน้ำ สำหรับเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและฉีดน้ำเป็นละอองฝอยบริเวณโรงเรือนหรือบริเวณหลังคา รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-14 จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียที่อาจเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนโดยทั่วไป ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 12-14 เม.ย.63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

  • ในระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ในพืชสวนและพืชผัก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ( โคและกระบือ) ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • ในตอนกลางวันมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่ายกายขาดน้ำ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่าง ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

อากาศร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วงโดยในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 63 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

  • ในตอนกลางวันมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่ายกายขาดน้ำ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่าง ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ฝั่งตะวันตก อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

  • จากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร ส่วนฝนที่ตกในระยะนี้ ปริมาณและการกระจายมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ในพืชไร่และไม้ผลไว้ด้วย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน 2563 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ยโสธร และลพบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด ยะลา นราธิวาส และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ