พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Monday May 11, 2020 14:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 57/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่า ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

คำเตือน ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมทั้งฟ้าผ่า เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยง การเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มั่นคงแข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม และจัดทำแผงกำบังฝนสาดให้กับสัตว์เลี้ยงด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรสามารถลงมือปลูกพืชได้ แต่ควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ป้ายโฆษณาสูงๆ และต้นไม้ใหญ่ ขณะลมแรง เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีอากาศร้อนในบางช่วงสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝน เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน รวมทั้งสันดอนปากแม่น้ำให้น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำระบายไม่ทันเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมดังกล่าวจะนำความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้ามาสู่ภาคใต้ทำให้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกษตรกรควรเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำให้น้ำสามารถไหลได้สะดวก รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าวตลอดสัปดาห์ และมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับฝนในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนกับฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้ ลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดสัปดาห์ อีกทั้งมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่น ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 4 พ.ค. จังหวัดพะเยาในวันที่ 4 และ 6 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 6 พ.ค. จังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 5 พ.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 6-7 พ.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายและน่านในวันที่ 9 พ.ค. จังหวัดพะเยาและน่านในวันที่ 10 พ.ค. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดลำปาง ในวันที่ 9 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 5 พ.ค. และบริเวณจังหวัดขอนแก่นและหนองคายในวันที่ 7 พ.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณเลยในวันที่ 9 พ.ค. จังหวัดบึงกาฬ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมาในวันที่ 10 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4 และ 7 พ.ค. มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานพายุฝนฟ้าคะนองบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 6 พ.ค. และจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 7 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมาก บางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 5 และ 6 พ.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30-50 ของพื้นที่

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา ลำพูน ลำปาง น่าน พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครนายก ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ