พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤษภาคม พ.ศ.2563

ข่าวทั่วไป Wednesday May 13, 2020 15:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤษภาคม พ.ศ.2563

ออกประกาศวันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 58/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค.63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น มีแนวโน้มเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนไปทางอ่าวเบงกอลตอนบน

คำเตือนเกษตรกร บริเวณประเทศไทยตอนบนควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าไว้ด้วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-14 และ 18-19 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยจะมีฝนตกสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู โดยจะมีฝนตกสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • อากาศร้อนสลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทาน ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ และดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยในพืชตระกูลพริก ไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. 63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่น 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • อากาศร้อนและมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อาจทำให้สัตว์น้ำตายได้ ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 13-16 พ.ค. 63 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ อนึ่ง ในข่วงวันที่ 17-19 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤษภาคม 2563 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน สุโขทัย พิจิตร เลย หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ