พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ข่าวทั่วไป Friday July 10, 2020 14:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 10 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 83/63

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมีลมตะวันออกในระดับสูงพัดเข้ามาปกคลุมภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นเล็กน้อย ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในพริก เป็นต้น รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในช่วงที่มีฝนตก ไม่สม่ำเสมอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในมะละกอ เป็นต้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชและดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ควรเก็บกวาดเศษซากพืชที่ร่วงหล่นเน่าเสีย ไม่ให้กองสุมอยู่ในบริเวณสวนและนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์มีพิษ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวนและพืชผัก เช่น หนอนหัวดำ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงในระยะปลายช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวแล้วเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนในระยะต้นช่วง จากนั้นมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยในวันที่ 6-8 ก.ค. กับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกตลอดช่วง โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากในระยะต้นและกลางช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 4 และ 7 ก.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ในวันที่ 7 ก.ค. และบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 8 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่กับฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง จากนั้นฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 6 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วงและวันที่ 7 ก.ค. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันและลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 7 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ในวันแรกและระยะปลายช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกระบี่ในวันที่ 6 ก.ค.

ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดน่าน อุดรธานี นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครศรีธรรมราช และปัตตานี ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ