พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Friday July 9, 2021 15:22 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 82/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ค. 64 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนบริเวณทะเลอันดามันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสังเกต หากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้แพร่ไปสู่ต้นอื่น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือน อย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • สำหรับในช่วงฤดูฝนสัตว์ศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น ไร เป็นต้น จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโต และศัตรูสัตว์บางชนิดยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ พื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกดินและอากาศจะมีความชื้นสูง เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชจากเชื้อรา เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าว ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ก.ค.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-5 ชม.

  • สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 9-11 ก.ค.64 อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9 - 13 ก.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนกับฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกเกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะนี้ อ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 9-11 ก.ค. 64 อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9 - 12 ก.ค. 64 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา :ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
  • ระยะนี้จะมีฝนกับฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะนี้ บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือ สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค.
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อม ความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง ซึ่งต่อมาหย่อมความกดอากาศนี้ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนัก ถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 6 ก.ค. และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 7 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะกลางและปลายช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 2 ก.ค. จังหวัดบึงกาฬและยโสธรในวันที่ 5 ก.ค. และจังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 7 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 3 และ 5 ก.ค. และจังหวัดสระบุรีในวันที่ 5 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วงจากนั้นมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายกและจันทบุรีในวันที่ 8 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตราดในวันที่ 8 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 6 ก.ค. และจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 7 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย น่าน สุโขทัย หนองบัวลำภู มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา ยโสธร นครนายก จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ