พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ.2564

ข่าวทั่วไป Friday August 27, 2021 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ.2564

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 104/64

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 30-31 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อน ในขณะที่ในช่วงวันที่ 1-2 ก.ย. 64 ลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคเน่าเละในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาดไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้ตามลำห้วย โดยให้นาสัตว์ขึ้นมาผูกไว้บนที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง รวมไปถึงทรัพย์สินมีค่า เช่น รถไถนา หรืออุปกรณ์การเกษตรชนิดต่างๆ ให้ย้ายไปไว้บนที่สูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกไรขาว ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอด และดอก ทำให้ใบและยอดหงิกงอ รวมทั้งผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรงได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โค และกระบือ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ หนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกองศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 3-5 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนัก เนื่องจากฝนที่ตกชุกทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและโรคผลเน่าในแก้วมังกร โรคเน่าคอดินในพืชผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย.64 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความ- เสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคเน่าในไม้ผล และโรคหนากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สวนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไมควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไมทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 1-2 ก.ย. 64 มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานของแสงแดด 3-5 ชั่วโมง

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. 64 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานของแสงแดด 2-5 ชั่วโมง

  • ในระยะนี้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยบริเวณที่มีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน และไม้ผล เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในลองกอง โรคหนากรีดยางในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนบริเวณที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชสวน ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันทึ่ 20-26 สิงหาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศมาเลเซียในวันแรกของช่วง กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันที่ 21 ส.ค. นอกจากนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 ส.ค. ต่อจากนั้นได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดช่วง โดยมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนหนาแน่นส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเชียงรายและลำปางในวันที่ 20 ส.ค. จังหวัดพะเยาในวันที่ 23 และ 24 ส.ค. และจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 24 ส.ค.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 20 - 50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 23 ส.ค. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ในวันที่ 23 ส.ค.

ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสิงห์บุรีในวันที่ 20 ส.ค.

ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 20, 22 และ 23 ส.ค. มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกและในระยะครึ่งหลังของช่วง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดระยองและปราจีนบุรีในวันที่ 26 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 20 ส.ค. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 21 ส.ค. และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 22 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 24-25 ส.ค.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ กาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคายอุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ