พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ข่าวทั่วไป Wednesday December 22, 2021 13:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ออกประกาศวันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 154/64

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน และมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ทำให้มีฝนเกิดขึ้นบางแห่งในบริเวณดังกล่าว ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค.

สำหรับในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีอุณหภูมิลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือและภาคกลางมีอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร สำหรับในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร สำหรับภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง คำเตือน ในช่วงวันที่ 22-28 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านผ่านบริเวณที่มีหมอก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-27 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23-27 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 28 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านผ่านบริเวณที่มีหมอก นอกจากนี้ควรระวังหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในข้าวโพด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝน ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังแมลงนูนหลวงและด้วงหนวดยาวในอ้อย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 24-26 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 24-26 ธ.ค.จะมีฝนบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอควรระวังแมลงนูนหลวง จักจั่นอ้อย และหนอนกออ้อย ในอ้อย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนบางแห่งร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรให้อาหารอย่างเหมาะสม เพราะอากาศเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงสายจึงให้อาหารเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรระวังเพลี้ยแป้งและแมลงหวี่ขาวยาสูบในมันสำปะหลัง

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 22-26 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรครากขาวในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง ปัตตานี และพังงา โดยวัดปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 128.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ