พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday November 28, 2022 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 142/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 28-29 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย/ ตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้มีกำลังอ่อน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 4 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. 65 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวันในการเดินเรือ โดยเรือเล็ก งดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 30 พ.ย. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยมีฝนในบางพื้นที่เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเอง เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรืองอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพตนเอง เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรืองอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร เพราะอาจก่อให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้เนื่องจากมีลมแรง

กลาง ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย. 65 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย. 65 อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. -ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมปริมาณการให้อาหารหรือลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย เศษอาหารที่เหลืออาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. 65 มีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28 พ.ย. - 2 ธ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. 65 ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 28 พ.ย. - 1 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับบริเวณพื้นที่การเกษตรที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เลี้ยงสัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง PK ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2565 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีรายงานฝนตกบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะในระยะกลางและปลายสัปดาห์มีฝนเกือบทั่วไป กับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคตะวันออกในวันที่ 23 พ.ย. และเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนบนในวันที่ 24 พ.ย. ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 24-25 พ.ย. มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 21, 22 และ 27 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 21, 22 และ 27 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 24 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 22 พ.ย. และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 23 และ 26 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 23 พ.ย.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ระนอง พังงา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ชุมพร พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และภูเก็ต

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ