พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 6 กันยายน พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 104/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 5 ก.ย. ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีทะเลคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง สำหรับเรือเล็กในบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ในช่วงที่มีฝนตกหนักมากหรือฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป์องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และไม้ดอก เป็นต้น เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรครากเน่าและโคนเน่าในไม้ผล และโรคดอกเน่าในดาวเรือง เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาดและดูแลให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป์องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 2 ก.ย. และ 5 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 4 ก.ย. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. - ในช่วงที่มีฝนตกหนักมากหรือฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ในช่วงที่มีน้ำท่วมชาวนาควรระวังและป์องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป์องกันหอยดังกล่าวเข้าในแปลงนาและแพร่พันธุ์กัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ พืชผัก และข้านาปี เป็นต้น เช่น โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรคแอนแทรกโนสในพริก และโรคไหม้ในข้าวนาปี เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น กลาง มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 1 - 4 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ในช่วงที่มีฝนตกหนักมากหรือฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป์องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้น พืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตาย สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป์องกันการ
ระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงสู่บ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 1
- 4 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม. - ในช่วงที่มีฝนตกหนักมากหรือฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตาย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรครากเน่าและโคนเน่าในไม้ผล และโรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงสู่บ่อเลี้ยงโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ส.ค. และวันที่ 5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา