พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 กันยายน 2566

ข่าวทั่วไป Monday September 18, 2023 14:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 112/2566

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 กันยายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19 - 20 ก.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัด ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเล อันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ระยะนี้ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

ในช่วงวันที่ 19 ? 24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคราน้ำฝนในลำไย โรคแคงเกอร์ในส้ม โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับคัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ควรเริ่มกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ตะวันออก เฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19 ? 24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคไหม้ในข้าวนาปี โรคโคนเน่าหัวเน่าในมันสำปะหลัง และแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ควรเริ่มกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

กลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์

น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับคัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง ควรบูรณะแหล่งเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 ? 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 4 ชม.

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน และโรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับคัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ อนึ่ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่มีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรบูรณะแหล่งเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ใต้

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19 ? 20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 3 - 5 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19 ? 20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %

- ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนที่ตกและหยุดตกสลับกันโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนแลยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

AS

ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11 ? 17 กันยายน 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน 2

ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมใน

หลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยชายฝั่งทางตะวันตกมีฝนเพิ่มขึ้น

ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งส่วนมากในระยะครึ่ง

หลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปางและพะเยา ในวันที่ 13 ก.ย. จังหวัดเชียงใหม่และตาก ในวันที่ 13 และ

วันที่ 16 ก.ย. จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 13-17 ก.ย. จังหวัดน่านและเพชรบูรณ์ ในวันที่ 15 ก.ย. จังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 16-17 ก.ย. กับมี

รายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 14 ก.ย. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงราย ในวันที่ 14 ก.ย. และ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 15 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักถึงหนัก

มากบางแห่งตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนหนักถึงหนักมากหลายแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัด

อุบลราชธานี ในวันที่ 13 ก.ย. จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 14 ก.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 14-15 ก.ย. จังหวัดอำนาจเจริญ สกลนคร และ

มุกดาหาร ในวันที่ 15 ก.ย. จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ในวันที่ 15-16 ก.ย. จังหวัดชัยภูมิ ยโสธร และเลย ในวันที่ 16 ก.ย. และจังหวัด

หนองบัวลำภู ในวันที่ 16-17 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์

และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 15 และวันที่ 17 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝน

หนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14-15 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่

12 ก.ย. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตราด ในวันที่ 16 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่ โดยเฉพาะวันที่ 16

ก.ย. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 ,14, 16 และ 17 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพัทลุง

ในวันที่ 12 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ

75-85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 14-15 ก.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู

สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ ลพบุรี ตราด และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝน

ตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก นครพนม มหาสารคาม ชัยภูมิ

นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี

นครปฐม สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง กระบี่ และสตูล

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ 116.5 มม. ที่ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 15 ก.ย.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 180.0 มม. ที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 14 ก.ย.

ภาคกลาง 115.0 มม. ที่ อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.

ภาคตะวันออก 159.1 มม. ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เมื่อวันที่ 14 ก.ย.

ภาคใต้ 98.6 มม. ที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.

กรุงเทพมหานคร 70.0 มม. ที่ โรงเรียนหนองระแหง เขตคลองสามวา เมื่อวันที่ 16 ก.ย.

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา

3

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฉบับที่112/66

คลื่นลม

ฝน

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ความยาวนานแสงแดด 3-4 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85 %

ระยะนี้จะมีฝนตกหนัก

อ่าวไทย/อันดามัน เดินเรือด้วยความระมัดระวัง

1-2เมตร

1-2 เมตร

1-2เมตร

ระหว่างวันที่ 18 ?24 กันยายน 2566

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

40-60 %

40-60 %

60-70 %

60-70 %

40-60 %

40-60 %

ระวัง! หนอน

ระวัง! คลื่นลมแรง

ระวัง! โรคเชื้อรา

ระวัง! โรคเชื้อรา

ระวัง! โรคเชื้อรา/แบคทีเรีย

ควร! ดูแลสภาพน้ำ

ระวัง! โรคเชื้อรา

ไม่ควร! อยู่ที่ชื้นแฉะนาน

ควร! เก็บกักน้ำ

ควร! ดูแลสภาพน้ำ

ควร! บูรณะแหล่งเก็บน้ำ

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ