พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday September 25, 2023 15:16 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 115/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยตอนบนตามแนวร่องมรสุม ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนามในคืนนี้ (25 ก.ย. 66) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป และจะเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 26-29 ก.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ย. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว พร้อมทั้งค้ำยังกิ่งให้มั่นคงแข็งแรง ควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ย. และ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 27 - 28 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคใบจุดในพืชผัก โรคราน้ำฝนในลำไย โรครากเน่าโคนเน่าในสับปะรดและมะละกอ เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรสำรวจหลังคาโรงเรือนและแผงกำบังฝนสาด หากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนและหนาวเย็น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางเฉียงเหนือ พื้นที่ในช่วงวันที่ 26 - 27 ก.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีแส้ดำในอ้อย โรคโคนเน่าหัวเน่าในมันสำปะหลัง โรครากเน่าโคนเน่า และโรคเหี่ยวเขียวในพริก เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู กลาง ในช่วงวันที่ 25 - 26 ก.ย. และ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก โดยเฉพาะโรคดอกเน่าในดาวเรืองโรคเน่าในกล้วยไม้และโรคแคงเกอร์ในมะนาว เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบโรคดังกล่าวควรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคและรวบรวมไปทำลายนอกพื้นที่เพาะปลูก โดยเผาหรือฝังให้ลึกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ลมแปรปรวน

ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหายและตายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคผลเน่าในแก้วมังกร โรค

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไปลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90 % ความยาวนานแสงแดด 2 - 5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงภายหลัง อีกทั้งหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับบางพื้นที่มีฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ย. NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18 - 24 กันยายน 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนและไม่ปรากฏชัด โดยในช่วงปลายสัปดาห์ร่องมรสุมได้พาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีลมฝ่ายตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนถึงปานกลางตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนโดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นในระยะกลางสัปดาห์ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือปริมาณฝนส่วนใหญ่อยู่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันแรกของสัปดาห์มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 5-25 ของ

พื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 18 ก.ย. และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 21 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ในวันที่ 21 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่และมีฝนหนักหลายพื้นที่กับหนักมากบางแห่งในวันที่ 18 และวันที่ 21 ก.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 19 วันที่ 22 และวันที่ 24 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 18-20 ก.ย. จังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19-20 ก.ย. จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี ในวันที่ 18-24 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 22 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ในวันที่ 18 วันที่ 20 และวันที่ 21 ก.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 21 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีและอ่างทอง ในวันที่ 21 ก.ย. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 20-21 ก.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 23-24 ก.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี ในวันที่ 20 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในวันที่ 18 วันที่ 21 และวันที่ 23 ก.ย. มีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 21 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 22 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 22 ก.ย.

          สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพิจิตร สกลนคร อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง         นครศรีธรรมราช พัทลุง และระนอง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย       พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์     ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี       สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา         ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ