พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday April 3, 2024 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 41/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้/ บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มีแนวลมพัดสอบของลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด สำหรับในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย.ขอให้ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-44 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นความสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดและระบายอากาศได้ดีรวมทั้งดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด จากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัย โดยงดเผาเศษขยะ เศษวัชพืช เศษวัสดุการเกษตร ให้ใช้การฝังกลบแทนการเผา สำหรับในช่วงวันที่ 8-10 เม.ย. ขอให้เกษตรกรระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉียงเหนือ สูงสุด 36-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดและระบายอากาศได้ดีรวมทั้งดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 3-8 เม.ย. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย.67 อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-44 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 9 เม.ย. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพโดยหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด เนื่องจากระยะนี้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชหรือโคนต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. 67 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 8-9 เม.ย. 67 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานนาน หากมีความจำเป็นความสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดและระบายอากาศได้ดีรวมทั้งดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับชาวสวนผลไม้ในระยะนี้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย เพราะเมื่อผลไม้ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลายจะทำให้คุณภาพลดลง ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณการเลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ เพื่อป้องกันความแออัดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน 2567 ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พิจิตร สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา พังงา และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ