พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 46/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16 - 22 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุม สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 17 - 22 เม.ย. ภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน คำเตือน ในช่วงวันที่ 16 - 18 เม.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.
- สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ลง โดยอาจติดตั้งพัดลมเป่าอากาศร้อนออกและดูดอากาศที่เย็นกว่าเข้ามาภายในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคาหรือบริเวณโรงเรือน เมื่อน้ำระเหยก็จะนำพาความร้อนไปด้วย ทำให้อุณหภูมิรอบข้างลดลงได้ สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนจัด เกษตรกรควรอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ ส่วนสภาพอากาศที่แห้งในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 เฉียงเหนือ - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม.
- ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้และร่างกายขาดน้ำ ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณน้อยอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชบางชนิด เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม สำหรับบางพื้นที่สภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ กลาง ในช่วงวันที่ 17 - 22 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.
- ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนจัด เกษตรกรควรอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคลมแดดได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ตะวันออก อากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./
ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม.
- ระยะนี้อากาศร้อน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียนที่จะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 18 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19 - 22 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16 - 18 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19 - 22 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 เม.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง สำหรับในบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 9 - 15 เมษายน 2568 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย อุดรธานี สิงห์บุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก พิจิตร เลย หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา