เอแบคโพลล์: ความในใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา แบบ Admission

ข่าวผลสำรวจ Wednesday February 11, 2009 10:16 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความในใจของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายต่อการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา แบบ Admission กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพ มหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,084 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 โดยผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 ทราบข่าวปัญหาเกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูงหรือการสอบเอเน็ตที่เกิดขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 9.4 ไม่ทราบข่าว

เมื่อสอบถามต่อไปถึงกรณีที่มีนักเรียนบางส่วนพลาดการสอบเอเน็ต เนื่องจากไม่ได้ชำระเงิน/ชำระเงินไม่ทันตามกำหนดเวลานั้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.3 คิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของตัวนักเรียนเอง ในขณะที่ร้อยละ 41.7 คิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของระบบ อย่างไรก็ ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 เห็นด้วยว่าควรมีการคืนสิทธิให้กับนักเรียนที่มีปัญหาในการสอบครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุไม่เห็นด้วย

เมื่อสอบถามความเข้าใจในระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เปรียบเทียบกับการสำรวจใน ปี พ.ศ. 2549 นั้นพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ของระบบการสอบมากขึ้นในทุกด้าน ได้แก่ ความเข้าใจอย่างชัดเจนในระบบการส อบ O-Net เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.6 ในปี พ.ศ. 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 68.5 ในการสำรวจครั้งนี้ ความเข้าใจต่อการสอบ A-Net เพิ่มขึ้นจากร้อย ละ 35.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 61.0 ความเข้าใจต่อการใช้ GPA และ GPAX เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.0 ในขณะที่ความเข้าใจต่อ คะแนน GAT (ความถนัดทั่วไป) และคะแนน PAT หรือความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ มีอยู่ร้อยละ 65.2 และร้อยละ 60.2 ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้ว่าเด็กนักเรียนส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 มีความเข้าใจชัดเจนต่อการสอบในประเภทต่างๆ แต่ที่ต้อง พิจารณาคือ ประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ของเด็กนักเรียนที่ถูกศึกษายังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางทำให้เด็กนักเรียน จำนวนมากเหล่านี้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะเด็กนักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการสอบคัดเลือก เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบ Admission นั้นยังมีความไม่พร้อมในหลายเรื่อง

โดยผลสำรวจพบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 คิดว่ายังไม่มีความพร้อมเรื่องการวางแผนการใช้ระบบ รองลงมาคือ ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 62.1 คิดว่ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสอบเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้า ใจ ร้อยละ 61.9 ระบุยังไม่มีความพร้อมด้านจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบ ร้อยละ 60.5 ระบุด้านคุณภาพของบุคลากร นอกจากนี้ เกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 56.7 และร้อยละ 56.6 คิดว่ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ในการรับสมัคร และระบบการตรวจสอบคุณภาพ ความถูกต้อง ตามลำดับ

เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ควรต้องปรับปรุงในระบบการสอบแบบ O-Net และ A-Net นั้นพบว่า ร้อยละ 66.9 ระบุควรปรับปรุงเรื่องการ รับสมัคร รองลงมาคือร้อยละ 64.6 ระบุด้านการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ร้อยละ 41.1 ระบุการประกาศคะแนน ร้อยละ 41.0 ระบุการ ประกาศสถานที่สอบ ร้อยละ 39.5 ระบุคำชี้แจงในการทำข้อสอบ ร้อยละ 38.3 ระบุการตรวจข้อสอบ และร้อยละ 37.6 ระบุการประกาศผลการ คัดเลือก

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงข้อดีของระบบการสอบคัดเลือกแบบ Admission โดยภาพรวมนั้น พบว่า ร้อยละ 40.6 ระบุมีข้อดีใน เรื่องที่สามารถวัดมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างละเอียด ในขณะที่ร้อยละ 24.7 ระบุเปิดโอกาสให้นักเรียนมีทางเลือกมากขึ้น/มี โอกาสสอบหลายรอบ ร้อยละ 19.3 ระบุมีความสะดวกและรวดเร็ว ร้อยละ 11.6 ระบุเปิดโอกาสให้ได้ทดสอบความสามารถ และร้อยละ 7.1 ระบุเปิดโอกาสให้สามารถเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อเลือกเรียนสาขาที่ต้องการได้ ในขณะที่เมื่อสอบถามถึงข้อเสียของการสอบแบบ Admission นั้นพบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุมีขั้นตอนยุ่งยากทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาด ร้อยละ 17.5 ระบุการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง/ลำบาก ในการหาข้อมูล / ข่าวสารไม่ทั่วถึง ร้อยละ 14.0 ระบุระบบจัดการสอบยังไม่พร้อม ร้อยละ 12.8 ระบุระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ยังไม่ สมบูรณ์ และร้อยละ 11.2 ระบุสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย /ค่าสมัครแพง ตามลำดับ

ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนของตัวอย่างเด็กนักเรียนที่เข้าใจชัดเจนต่อระบบการสอบคัดเลือก เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตามเด็กนักเรียนจำนวนมากยังไม่เข้าใจชัดเจน โดยสาเหตุหลักที่ ค้นพบคือเรื่องความไม่พร้อมในการประชาสัมพันธ์ที่อาจยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและทั่วถึง และขั้นตอนที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังสำรวจพบว่าเป็นเพราะ ตัวเด็กนักเรียนเองที่อาจไม่ใส่ใจอย่างจริงจังต่อขั้นตอนสำคัญในกระบวนการสอบคัดเลือกแบบแอดมิสชั่นนี้ แต่เมื่อระบบการศึกษาของประเทศมีการ เปลี่ยนแปลงแล้ว ก็จำเป็นต้องเดินหน้าต่อไปโดยอาจนำเอาข้อมูลที่สำรวจพบครั้งนี้ไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสาร เพิ่ม ช่องทางให้เด็กนักเรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารของการสอบคัดเลือกแบบแอดมิสชั่น และเชื่อมประสานกระชับความร่วมมือกับคณาจารย์ในโรงเรียน ต่างๆ ทั่วประเทศที่จะลดอคติต่อระบบการสอบคัดเลือกแบบใหม่ในกลุ่มบุคลากรด้านการศึกษาเองและกลุ่มประชาชนทั่วไป

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนที่กำลังศึกษาหรือพึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อระบบ Admission ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

2. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ความในใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา แบบ Admission กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ดำเนินโครงการในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้า หมาย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และ กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,084 ตัวอย่าง ช่วงความ เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ เข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 87 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 37.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.3ระบุอายุ 15 ปี

ร้อยละ 41.0 ระบุอายุ 16 ปี

ร้อยละ 35.0 ระบุอายุ17 ปี

และร้อยละ 10.7 ระบุอายุ 18 ปี

และเมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างตามระดับการศึกษาในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 41.7 กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

และ ร้อยละ 11.8 ระบุกำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ ดังปรากฏในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุการรับทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาการสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง
(A-Net) ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่          การรับทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาการสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) ที่เกิดขึ้น      ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                                                                                90.6
2          ไม่ทราบข่าว                                                                               9.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                                100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นกรณีนักเรียนบางส่วนที่พลาดการสอบ A-Net เนื่องจากไม่ได้
ชำระเงิน/ชำระเงินไม่ทัน
ลำดับที่          ความคิดเห็น                           ค่าร้อยละ
1          คิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของระบบ               41.7
2          คิดว่าเกิดจากความผิดพลาดของนักเรียนเอง          58.3
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการคืนสิทธิ์ให้กับนักเรียนที่พลาดการสอบ A-Net
เนื่องจากไม่ได้ชำระเงิน/ชำระเงินไม่ทันในครั้งนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็น                          ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วยว่าควรคืนสิทธิ์ให้ในครั้งนี้                 75.2
2          ไม่เห็นด้วย                                 24.8
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0

ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีความเข้าใจอย่างชัดเจนในระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
ต่อในระดับอุดมศึกษา จากการสำรวจในปี พ.ศ.2549 และ พ.ศ. 2552
ลำดับที่      ความเข้าใจอย่างชัดเจนในระบบการสอบคัดเลือก   ครั้งที่ 1(พ.ศ.2549)ค่าร้อยละ    ครั้งที่ 2(พ.ศ.2552)ค่าร้อยละ

บุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

1          การสอบ O-Net                                      38.6                    68.5
2          การสอบ A-Net                                      35.2                    61.0
3          การใช้ GPA และ GPAX ในการคัดเลือกฯ                   33.2                    60.0
4          คะแนน GAT (ความถนัดทั่วไป)                                                   65.2
5          คะแนน PAT (ความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ)                                      60.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อความพร้อมของระบบการสอบ O-Net และ A-Net
ลำดับที่          ความพร้อมของระบบการสอบ O-Net และ A-Net           มีความพร้อม       ยังไม่พร้อม      รวมทั้งสิ้น
1          ประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสอบ -
           เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ                              37.9          62.1          100.0
2          จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบ                                     38.1          61.9          100.0
3          คุณภาพของบุคลากร                                          39.5          60.5          100.0
4          การวางแผนการใช้ระบบ                                      31.9          68.1          100.0
5          ระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ในการรับสมัคร                       43.3          56.7          100.0
6          ระบบการตรวจสอบคุณภาพความถูกต้อง                            43.4          56.6          100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ระบบการสอบแบบ A-Net และ O-Net  ต้องแก้ไขปรับปรุง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สิ่งที่ระบบการสอบ A-Net และ O-Net  ต้องแก้ไขปรับปรุง      ค่าร้อยละ
1          การรับสมัครสอบ                                            66.9
2          การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์                                 64.6
3          การประกาศสถานที่สอบ                                       41.0
4          คำชี้แจงในการทำข้อสอบ                                      39.5
5          การประกาศคะแนน                                          41.1
6          การประกาศผลการคัดเลือก                                    37.6
7          การตรวจข้อสอบ                                            38.3

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุข้อดีของระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบ
Admission (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ข้อดีของระบบการคัดเลือกแบบ Admission                         ค่าร้อยละ
1          สามารถวัดมาตรฐานการศึกษาของแต่ละคนได้อย่างละเอียด                    40.6
2          เปิดโอกาสให้นักเรียนมีทางเลือกมากขึ้น /มีโอกาสสอบหลายรอบ                24.7
3          สะดวก/รวดเร็ว                                                   19.3
4          เปิดโอกาสให้ทดสอบความสามารถ                                      11.6
5          เปิดโอกาสให้สามารถเตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อเลือกเรียนสาขาที่ต้องการ     7.1

ตารางที่8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุข้อเสียของระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบ
Admission (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่           ข้อเสียของระบบการคัดเลือกแบบ Admission                      ค่าร้อยละ
1          ขั้นตอนยุ่งยากทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาด                           47.2
2          การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง/ลำบากในการหาข้อมูล / ข่าวสารไม่ทั่วถึง            17.5
3          ระบบจัดการสอบยังไม่พร้อม                                           14.0
4          ระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ยังไม่สมบูรณ์                                12.8
5          สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย /ค่าสมัครแพง                                      11.2

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ