เอแบคโพลล์: โครงการชุมชนพอเพียงในสายตาของประชาชนในชุมชน

ข่าวผลสำรวจ Friday August 21, 2009 10:16 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง โครงการ ชุมชนพอเพียงในสายตาของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,142 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 20 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.5 พบว่ามีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียงในหมู่บ้านที่ตนพักอาศัยอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 33.5 ระบุยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบ

เมื่อสอบถามถึงประโยชน์ของโครงการชุมชนพอเพียงในการช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร พบ ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.1 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 26.9 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 11.0 ระบุช่วยได้ค่อนข้างน้อย ถึงไม่ได้เลย

เมื่อถามถึงประโยชน์ของโครงการชุมชนพอเพียงต่อชุมชนที่ตนเองพักอาศัย พบว่า ร้อยละ 61.1 ระบุช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อย ละ 27.0 ระบุระดับปานกลาง และร้อยละ 11.9 ระบุช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงไม่ได้เลย

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า รัฐบาลควรเดินหน้าโครงการชุมชนพอเพียงต่อไปหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.5 มองว่าควรเดินหน้า โครงการชุมชนพอเพียงนี้ต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 10.5 เห็นว่าไม่ควร

เมื่อถามถึง การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.2 ยังไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครอบครัว มี เพียงร้อยละ 17.2 ที่ทำบัญชีทุกวัน ร้อยละ 7.2 ทำเป็นรายสัปดาห์ และร้อยละ 19.4 ทำเป็นรายเดือน

เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมของผู้ตอบแบบสอบถามและคนในครอบครัวในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของหมู่บ้าน/ ชุมชนที่ตนเองพักอาศัย พบ ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.6 ไม่มีส่วนร่วมเลย ในขณะที่ร้อยละ 27.4 ระบุมีส่วนร่วมในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของชุมชน

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 รับทราบข่าวการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง ในขณะที่ ร้อยละ 37.8 ไม่ทราบ ข่าว และส่วนใหญ่อันดับแรกคือร้อยละ 81.4 ระบุนักการเมืองท้องถิ่นในชุมชนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น เช่นเดียวกันกับร้อยละ 80.3 ระบุเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 78.9 ระบุเป็นนักการเมืองระดับชาติฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 77.2 ระบุเป็นกลุ่มนายทุน ร้อยละ 68.0 ระบุเป็นเครือญาติของ แกนนำในหมู่บ้าน/ชุมชน และร้อยละ 52.6 ระบุเป็นนักการเมืองระดับชาติในฝ่ายค้าน ตามลำดับ

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.6 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 3.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 16.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 29.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 11.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 2.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 51.9 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 30.0 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาทต่อเดือน

ในขณะที่ ร้อยละ 18.1 มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียงในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่          การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียงในหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย    ค่าร้อยละ
1          มีการประชาสัมพันธ์                                                  66.5
2          ไม่มีการประชาสัมพันธ์                                                33.5
          รวมทั้งสิ้น                                                         100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียงในการช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          ค่อนข้างน้อย-ไม่ได้เลย                 11.0
2          ปานกลาง                           26.9
3          ค่อนข้างมาก-มากที่สุด                  62.1
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับประโยชน์จากโครงการชุมชนพอเพียงอย่างแท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                   ค่าร้อยละ
1          ค่อนข้างน้อย-ไม่ได้เลย                 11.9
2          ปานกลาง                           27.0
3          ค่อนข้างมาก-มากที่สุด                  61.1
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการดำเนินโครงการชุมชนพอเพียงต่อไป
ลำดับที่          ความคิดเห็น                  ค่าร้อยละ
1          ควรดำเนินการต่อไป                   89.5
2          ไม่ควร                             10.5
          รวมทั้งสิ้น                           100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว
ลำดับที่          การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว         ค่าร้อยละ
1          มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกวัน                    17.2
2          มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นรายสัปดาห์              7.2
3          มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นรายเดือน              19.4
4          ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย                      56.2
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีส่วนร่วมของตนเองและคนในครอบครัวในการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย
ลำดับที่          การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของหมู่บ้าน/ชุมชนที่พักอาศัย          ค่าร้อยละ
1          มีส่วนร่วมในการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย                          27.4
2          ไม่มีส่วนร่วม                                              72.6
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับการับทราบข่าวการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง
ลำดับที่          การทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง                  ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าวการทุจริตคอรัปชั่น                                   62.2
2          ไม่ทราบข่าว                                              37.8
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการชุมชนพอเพียง

(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                         ค่าร้อยละ
1          นักการเมืองท้องถิ่นในชุมชน                                   81.4
2          เจ้าหน้าที่รัฐ                                              80.3
3          นักการเมืองระดับชาติฝ่ายรัฐบาล                               78.9
4          นายทุน                                                  77.2
5          เครือญาติของแกนนำในหมู่บ้าน/ชุมชน                            68.0
6          นักการเมืองระดับชาติฝ่ายค้าน                                 52.6

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ