ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม Astana Economic Forum 2015

ข่าวต่างประเทศ Tuesday July 7, 2015 08:44 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

อัสตานา, คาซัคสถาน--7 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ("เศรษฐกิจโลกและการบูรณาการ" "โครงสร้างพื้นฐาน" "เศรษฐกิจสีเขียวและนวัตกรรม" "การเติบโตอย่างเสมอภาคและทุนมนุษย์" "ธุรกิจและตลาดทุน") การประชุม Astana Economic Forum 2015 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีหัวข้อหลักในการประชุมคือ "โครงสร้างพื้นฐาน: กลไกขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ http://www.multivu.com/players/uk/7568051-recommendations-astana-economic-forum/ "เศรษฐกิจโลกและการบูรณาการ" เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับกระแสต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ความแตกต่างด้านนโยบายการเงิน ตลอดจนผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ปี 2552 ดังนั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในระดับอ่อนแอถึงปานกลาง ขณะที่ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง ราคาน้ำมันที่ลดลงได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการจัดสรรรายได้ที่แท้จริงจากผู้ส่งออกน้ำมันไปยังผู้นำเข้าน้ำมัน สำหรับประเทศที่อยู่ในกลุ่มหลังนั้น รายได้ที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นกำลังทำให้การใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลดีต่อสหรัฐอเมริกามากเป็นพิเศษ เพราะผลดีจากการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น ได้ช่วยชดเชยผลเสียจากการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่กำลังตกต่ำ และอาจทำให้สหรัฐกลับมาเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันผลผลิตทั่วโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะในฐานะผู้บริโภคที่เป็นความหวังสุดท้าย อย่างไรก็ดี สถานการณ์นี้อาจทำให้สหรัฐกลับมาขาดดุลมหาศาลอีก โดยยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐกำลังจ่อเข้าใกล้ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อีกครั้ง สำหรับผู้ส่งออกน้ำมันนั้น ช่วงที่ราคาน้ำมันตกอาจเป็นจังหวะที่ดีในการปฏิรูปโครงสร้างและองค์กร เพื่อให้กิจการมีความหลากหลายมากขึ้นและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูงผิดปกติ ขณะที่นโยบายการเงินของประเทศต่างๆมีความแตกต่างกันมาก นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 ถึงเดือนเมษายน 2558 สกุลเงินยูโรเคลื่อนไหวจากระดับ 1.34 ดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 1.08 ดอลลาร์ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับนี้ช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันและแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซน ทั้งนี้ สหรัฐมีแนวโน้มว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ศูนย์ ขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นยังไม่มีทีท่าว่าจะขึ้นดอกเบี้ย นโยบายการเงินที่แตกต่างกันเช่นนี้นี่เองที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยยังคงปรากฏอยู่ในหลายประเทศ ดังจะเห็นได้จากแรงกดดันขาลงที่กระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากภาคธนาคารที่อ่อนแอและหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง โครงสร้างพื้นฐาน นอกเหนือจากการบริโภคแล้ว โครงสร้างพื้นฐานก็สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวของกิจกรรมที่แท้จริงและการสร้างงาน ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภายภาคหน้า (โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20150514/743719 ) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่... วีดีโอ: http://www.multivu.com/players/uk/7568051-recommendations-astana-economic-forum/ แหล่งข่าว: Astana Economic Forum

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ