รายงานดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างประจำเดือนธันวาคม 2556 และปี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 6, 2014 14:56 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556 และปี 2556

กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหว ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556 โดยสรุปดังนี้

จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา วัสดุก่อสร้างได้ผลดังนี้

1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556

ปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2556 เท่ากับ 126.7 เดือนพฤศจิกายน 2556 เท่ากับ 126.5

2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556 เมื่อเทียบกับ

2.1 เดือนพฤศจิกายน 2556 สูงขึ้นร้อยละ 0.2

2.2 เดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 1.5

2.3 เฉลี่ยทั้งปี 2556 เทียบกับปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.9

3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2556 สูงขึ้นร้อยละ 0.2(เดือนพฤศจิกายน สูงขึ้นร้อยละ 0.1)

หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 0.6 (คอนกรีตผสมเสร็จ)เนื่องจากต้นทุนประเภท หิน และทรายปรับสูง ขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 0.8 (ยางมะตอย) จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน

หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 0.2 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวไอ เหล็กตัวเอช) เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนชะลอตัวลง จากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศและเป็นช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่

4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนธันวาคม 2556 เทียบกับเดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 1.5 (เดือนพฤศจิกายน สูงขึ้นร้อยละ 1.9)

หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 6.2 (เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง-เสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป อัดแรง คอนกรีตบล็อก คอนกรีตผสมเสร็จ) เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบประเภท ทราย หิน ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง ปรับตัวสูงขึ้น หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 8.6 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 2.5 (ทราย หิน ยางมะตอย) สำหรับ ทราย และหิน เนื่องจากหาแหล่งผลิตยากขึ้น ส่วนยางมะตอย ปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน

หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 2.2 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวเอช เหล็กตัวไอเหล็กฉาก) และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาร้อยละ 3.0 (สายเคเบิลถังเก็บน้ำแสตนเลส)เนื่องจากการก่อสร้างชะลอตัวลง จากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้น้อยลง

5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยทั้งปี 2556 เทียบกับปี 2555 สูงขึ้น ร้อยละ 0.9

หมวดดัชนีราคาที่สูงขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 5.0 (เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป อัดแรง คอนกรีตบล็อกก่อผนัง คอนกรีตผสมเสร็จ) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 6.8 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 2.5 (ทราย หิน ดินถมที่ หินคลุกยางมะตอย) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นและหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ร้อยละ 5.5 (วงกบประตู-หน้าต่าง)เนื่องจากวัตถุดิบมีน้อย และขาดแคลนแรงงาน

หมวดดัชนีราคาที่ลดลง ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 4.8 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวไอ เหล็กตัวเอช เหล็กแผ่นเรียบดำ) เนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกประเทศจีนระบายเหล็กสต็อคเหล็กออกมามาก ประกอบกับดีมานด์ในตลาดโลกมีไม่มากจากเศรษฐกิจโลก ที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง สำหรับช่วงปลายปีการก่อสร้างชะลอตัวเนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ การเมืองในประเทศ ทำให้ความต้องการชะลอตัวลง

สรุปภาพรวมดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2556

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยทั้งปี 2556 ปรับตัวสูงขึ้นไม่มาก กล่าวคือร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปี 2555เนื่องจากตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก ถึงไตรมาสที่สอง ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่องถึงแม้ความต้องการวัสดุก่อสร้างสูงขึ้นมาก เพื่อก่อสร้างโครงการพื้นฐานภาครัฐและ ที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และตามหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น และภูเก็ตเป็นต้น

ช่วงไตรมาสสาม การก่อสร้างชะลอตัวลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน และมีน้ำท่วมในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก เป็นต้น ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างลดลง

ช่วงไตรมาสสี่ ปกติจะเป็นช่วงที่มีการก่อสร้างมาก แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวทั้งภาครัฐและเอกชน ภาพรวมราคาวัสดุก่อสร้างจึงปรับตัวสูงขึ้นไม่มาก

วัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 5.0 (เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง คอนกรีตบล็อกก่อผนัง
คอนกรีตผสมเสร็จ)เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น หิน ทราย และโดยเฉพาะลวดเหล็กแรงดึงสูง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเอดีเหล็กลวด
คาร์บอนสูงทำให้ต้องรับภาระต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์คอนกรีตสูงขึ้น
  • หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 6.8 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม)เนื่องจากมีความต้องการใช้สูงขึ้นในโครงการก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยภาคเอกชน ทั้งในเขตกรุงเทพ และตามหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น ที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่นเป็นต้น
อีกทั้งช่วงไตรมาสที่สาม ที่ผ่านมา ราคาปูนซีเมนต์ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐที่จะทะยอยเกิดขึ้นในปี 2557
  • หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 2.5 (ทราย หิน ดินถมที่ หินคลุกยางมะตอย) เนื่องจากแหล่งธรรมชาติหายากขึ้น
ไม่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับยางมะตอย ได้รับผลจากการปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันในตลาดโลก
  • หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.5 (วงกบประตู-หน้าต่าง) เนื่องจากวัตถุดิบหายาก

วัสดุก่อสร้างที่มีราคาลดลง ได้แก่

  • หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 4.8 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวไอ เหล็กตัวเอช เหล็กแผ่นเรียบดำ)

เนื่องจากประเทศจีนมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ประกอบกับจีนการคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการใช้มากในปี 2556 จึงสะสมสต็อคเหล็กไว้มาก

แต่ความต้องการในตลาดโลกไม่สูงพอ เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ทำให้จีนต้องระบายสต็อคเหล็กส่วนเกิน

ส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงประกอบกับช่วงปลายปีการก่อสร้างชะลอตัวลง จากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศและเป็นช่วง

วันหยุดเทศกาลปีใหม่ ทำให้ความต้องการใช้เหล็กลดลง

แนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างปี 2557

คาดว่าราคาวัสดุก่อสร้างจะปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับปี 2556ตามความต้องการที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์ ทางเมืองในประเทศที่ยังไม่ทราบว่าจะยุติลงเมื่อใดทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าส่งผลให้โครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐ และโครงการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยภาคเอกชนชะลอลงแต่อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านซัพพลาย คือ ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างอาจจะสูงขึ้นจากการอ่อนค่าของเงินบาท ส่งผลให้ ต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น เช่น บิลเล็ต ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเหล็กโครงสร้าง รวมถึงราคาน้ำมันมีแนวโน้มต้นทุนสูงขึ้นจากการอ่อนค่า ของเงินบาทเช่นกันส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงขึ้นและเป็นตัวผลักให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นตาม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว จึงทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับปี 2556

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง

เดือน ธันวาคม ปี 2556

(2548 = 100)

 หมวด                                         ดัชนี                                อัตราการเปลี่ยนแปลง
                        สัดส่วน
                        น้ำหนัก
                                 ธ.ค.56    พ.ย.56   ธ.ค.55     เฉลี่ย   ธ.ค.56/    ธ.ค.56/   ม.ค.- ธ.ค.56/
                                                                      พ.ย.56     ธ.ค.55    ม.ค.- ธ.ค.55
ดัชนีรวม                 100.00     126.7     126.5    124.8    125.8      0.2        1.5          0.9
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้            7.06     150.7     150.7    147.0    150.9      0.0        2.5          5.5
ซิเมนต์                   12.01     123.1     123.1    113.4    120.8      0.0        8.6          6.8
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต            15.06     134.9     134.1    127.0    130.2      0.6        6.2          5.0
เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก       24.25     115.7     115.9    118.3    116.3     -0.2       -2.2         -4.8
กระเบื้อง                  6.44     111.6     111.6    111.5    111.6      0.0        0.1          0.1
วัสดุฉาบผิว                 2.71     120.9     120.9    120.4    121.2      0.0        0.4          1.4
สุขภัณฑ์                    2.23     156.2     156.2    154.4    156.0      0.0        1.2          2.4
อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา       12.67     111.8     112.0    115.3    112.8     -0.2       -3.0         -1.8
วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ           17.56     147.7     146.6    144.1    145.6      0.8        2.5          2.5

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 6719 โทรสาร. 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ