ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.00/07 อ่อนค่าเล็กน้อย นลท.จับตาผลประชุม FOMC-BOJ สัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 25, 2016 17:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.00/07 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.99/35.01 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงมาเล็กน้อยในช่วงบ่ายวันนี้ ขณะที่นักลงทุนติดตามผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบาย การเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ ซึ่งตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม เพียงแต่จะจับตาดูการออกมาให้ความเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม และผลจากกรณีที่อังกฤษออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit)

นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ว่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่

"เงินบาทช่วงบ่ายอ่อนค่าไปเล็กน้อย สัปดาห์นี้นักลงทุนคงรอผลประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าจะมี comment ภาพรวมตลาดโลกอย่างไร รวมทั้งการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นปลายสัปดาห์นี้ ว่าจะมีออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่" นัก บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.90 - 35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.00 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร ช่วงเย็นอยู่ที่ระดับ 1.0960 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0940 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,512.66 จุด เพิ่มขึ้น 3.53 จุด (+0.23%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 53,688 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,935.00 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้น พ.ค.59 มีจำนวน 5,977,353.33
ล้านบาท หรือคิดเป็น 43.35% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,020.02 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่
เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,028,771.82 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน
521,614.04 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 11,947.45 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธาณะ
คงค้างลดลงสุทธิ 72,218.49 ล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.25-0.50% ตาม
เดิม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) รอบที่ห้าของปี 2559 วันที่ 26-27 ก.ค59 เพื่อรอประเมินผลกระทบที่
อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก หลังอังกฤษลงมติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (BREXIT)

สำหรับผลต่อไทยนั้น มองว่า การชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด อาจทำให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศไทยในระยะ สั้น พร้อมๆ กับเปิดช่องว่างให้ทางการไทยสามารถที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมได้หากจำเป็น อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อ เส้นทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีมากขึ้น อาจทำให้กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนเต็มไปด้วยความผันผวนในระยะข้างหน้า

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยภาพรวมสินเชื่อเดือนมิ.ย.59 ขยับขึ้นจากเดือนก่อน จากสินเชื่อในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาด
ใหญ่ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหญ่ ขณะที่เงินฝากยังคงปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากการครบกำหนดของ
เงินฝากประจำและเงินฝากประจำแบบพิเศษในหลายธนาคาร ด้วยภาพดังกล่าวส่งผลให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เดือนมิถุนายน
2559 ยังคงมีทิศทางตึงตัวขึ้น

สำหรับแนวโน้มสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 คาดว่า จะเน้นรักษาสมดุล เพื่อ ประคองผลตอบแทนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ โดยเงินให้สินเชื่อมีโอกาสฟื้นตัวจากช่วงครึ่งแรกของปี ขณะที่ทิศทางของเงินฝากคาดว่าขยาย ตัวในระดับต่ำเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการสินเชื่อที่คงเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  • รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศคงระดับการประเมินภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยระบุว่า เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวในระดับ
ปานกลาง แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง เมื่อพิจารณาจากภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแข็งค่าของเงินเยน และผล
กระทบจากการที่อังกฤษลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

รายงานยังระบุด้วยว่า เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นนั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลกำไรของกลุ่มบริษัทส่งออกปรับตัวลดลง โดยบริษัท เอกชนมีมุมมองต่อภาวะทางธุรกิจในลักษณะ ยังคงใช้ความระมัดระวัง นอกเหนือจากการแข็งค่าของเงินเยนแล้ว ผลของ Brexit เมื่อเดือนที่แล้วยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับแนวโน้มในระยะยาวของบริษัทเอกชน เนื่องจากผลพวงของ Brexit จะทำให้ภาคเอกชน เลื่อนการลงทุนในอังกฤษ

  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2559 หลัง
จากที่จีนมี "ความมุ่งมั่นและชัดเจน" ในการปฏิรูปเศรษฐกิจรวมทั้งคอยประคับประคองเศรษฐกิจประเทศอย่างมั่นคง โดยปรับเพิ่ม
อัตราเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2559 ขึ้น 0.1% มาอยู่ที่ 6.6% จาก 2 เหตุผลสำคัญ คือ ได้เห็นแล้วว่าจีนมีความมุ่งมั่นและชัดเจนใน
การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการที่เศรษฐกิจจีนได้รับแรงสนับสนุนที่จะช่วยผลักดันให้สามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้
  • สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับตัวลดลงแตะ
108.3 ในเดือนก.ค.จากระดับ 108.7 เมื่อเดือนมิ.ย. หลังผลการลงประชามติ Brexit ในสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ตัวเลข
ความเชื่อมั่นเดือนก.ค.ลดลงน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะร่วงลงแตะ 107.5 สะท้อนให้เห็นว่าในเบื้องต้น ภาคธุรกิจ
ของเยอรมนียังคงสามารถต้านทานผลกระทบจากการลงประชามติของอังกฤษได้ โดยอังกฤษเป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ
เยอรมนี
  • กระทรวงการคลังจีน เปิดเผยว่า รัฐวิสาหกิจจีน (SOE) มีผลกำไรรวม 1.13 ล้านล้านหยวน (1.69 แสนล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ลดลง 8.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยอัตราการลดลงดังกล่าวได้ชะลอตัวลงเมื่อ

เทียบกับในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ที่ผลกำไรรัฐวิสาหกิจจีนร่วงลงถึง 9.6%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ