รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 6, 2012 09:57 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างอยู่ที่ร้อยละ 4.6
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือน ธ.ค.54 หดตัวที่ร้อยละ -25.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.54 เกินดุล 1,939.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินเชื่อ ในเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 9.7
  • GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน่าที่ร้อยละ 3.0
  • GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของของปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ญี่ปุ่น ในเดือน ม.ค.55 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 50.7
  • อัตราการว่างงานสหภาพยุโรป ในเดือน ธ.ค. 54 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ร้อยละ 10.4 ของกำลังแรงงานรวม
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jan: Motorcycle Sale(% YoY)          -18.0               -21.7
  • ส่วนหนึ่งคาดว่ายังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ในช่วงปลายปี 54 ทำให้การบริโภคภาคเอกชน ในหมวดสินค้าคงทนยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนที่ช่วงต้นปี 54 ที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูง
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ธ.ค. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ค่าไฟฟ้า และอาหารสำเร็จรูป อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดไข่ และผักสดมีราคาลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ทำให้มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ร้อยละ 2.7
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าแล้วขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 4.8 จากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กแผ่นเรียบดำ ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ร้อยละ 11.3 จากคอนกรีตบล็อกก่อผนัง-อิฐก่อผนังมวลเบา พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่อิฐมอญ ทราย หินย่อย ยางมะตอย เป็นต้น
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ธ.ค. หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -25.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -47.2 ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาอุทกภัยที่คลี่คลายลง ทำให้อุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องแต่งกาย และอิล็กทรอนิกส์เริ่มกลับมาทำการผลิตได้บางส่วน ขณะเดียวกันในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องประดับ และเคมีภัณฑ์ มีระดับการผลิตที่ขยายตัวเป็นบวก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น อย่างไรก็ตาม จากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 หดตัวสูงถึงร้อยละ -34.4 ส่งผลให้ทั้งปี 54 หดตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ -9.3
  • ปริมาณจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 54 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -23.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 6.4 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน ธ.ค.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 38.8 โดยปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ธ.ค.54 ที่กลับมาขยายตัวได้ดีมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ท่อเหล็กกล้า ที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 และ 58.9 ตามลำดับ ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 41.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่โรงงานผลิตรถยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้งหลังจากต้องหยุดกำลังการผลิตลงในช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 ทำให้ทั้งปี 54 ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 6.5
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.54 เกินดุล 1,939.9 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลเล็กน้อยที่ -136.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อยที่ -237.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้นมาก เนื่องจากการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าในทุกหมวดสินค้าเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อชดเชยในช่วงที่ภาคการผลิตประสบปัญหาอุทกภัย ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิเกินดุลสูง 2,177.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเงินค่าสินไหมประกันจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 ปี 54 เกินดุล 1,842.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทั้งปี 54 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 12,294 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลหลักจากการเกินดุลการค้าที่สูงถึง 23,928 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินเชื่อเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากสินเชื่อตามมาตรการของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังภาวะน้ำท่วม ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วยังคงขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวชะลอลงที่ ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยหากพิจารณาตามผู้ให้เงินฝาก พบว่าเงินฝากที่ขยายตัวเร่งขึ้นเกิดจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามมาตรการของภาครัฐ ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -0.1 (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากความต้องการเงินสดของภาคครัวเรือนที่สูงขึ้นเพื่อบูรณะซ่อมแซมหลังภาวะน้ำท่วม และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมธนาคารพาณิชย์ ที่ระดมเงินฝากผ่านผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆนอกเหนือจากเงินฝากมากขึ้น อาทิ ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค. 55 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -18.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ -21.7 ส่วนหนึ่งคาดว่ายังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ในช่วงปลายปี 54 ทำให้การบริโภคภาคเอกชน ในหมวดสินค้าคงทนยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนที่ช่วงต้นปี 54 ที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูง

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 54 (31 ม.ค.) ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.4 ของกำลังแรงงานรวม โดยเยอรมันมีอัตราการว่างงานที่ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม
China: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.5 บ่งชี้การขยายตัวที่ต่อเนืองในภาคการผลิตในไตรมาสแรกของปี
USA: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการสะสมสินค้าคงคลัง ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ตามลำดับ ส่งผลให้ในปี 54 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.7 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 14.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากการขยายตัวของคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์เป็นสำคัญ ยอดขายรถยนต์เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 54.1 อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค.55 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 61.1 โดยผู้บริโภคยังไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
Japan: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือน ม.ค. 55 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 50.7 บ่งชี้การขยายตัวในภาคการผลิตภายหลังจากที่ชะลอตัวจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนที่ร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ผ่อนคลายลง อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 54 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม
Hong Kong: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน่าที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคการส่งออกที่ชะลอลง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ทั้งปี 54 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1
Philippines: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของของปีก่อน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (หลักหักผลทางฤดูกาล) จากการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายภาครัฐเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจโลก
Taiwan: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคการส่งออกที่ชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ทั้งปี 54 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0
Indonesia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากผลผลิตด้านอาหารที่ลดลงจากสภาพอากาศ ทำให้ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค.54 ยังคงขยายตัวได้ดีร้อยละ 24.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีแนวโน้มชะลอลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • ธนาคารกลางคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.0 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตในยูโรโซน
SingaporeSouth Korea: worsening economic trend
  • การส่งออกเดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังยูโรโซน ขณะที่การส่งออกไปยังจีนชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนอุปสงค์จากภายนอกที่ชะลอลงชัดเจน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านเสถียรภาพในประเทศอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค.55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคาอาหารสดที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ระดับต่ากว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ระดับ 49.2 บ่งชี้สัญญาณถดถอยของภาคการผลิต
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ ใกล้ระดับ 1,100 จุด โดยนักลงทุนเข้าซื้อขายอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี สเปน และเบลเยียมในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้าก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 2 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,701 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนโดยเฉพาะในพันธบัตรอายุไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 2 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,023 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนหน้าต่อเนื่อง โดยปิดที่ระดับ 30.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 2 ก.พ. 55 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 1.22 เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยน เงินริงกิตมาเลเซีย และเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.47
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอด สัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 2 ก.พ. 55 ปิดที่ 1,758 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,730 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ