รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 15, 2015 11:49 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2558

Summary:

1. ทีเอ็มบี คาดที่ประชุม กนง. วันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะคง ดบ.นโยบาย ที่ระดับร้อยละ 1.5

2. ยอดจองรถงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป ต่ากว่าคาดการณ์เล็กน้อย

3. ญี่ปุ่นเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -1.4

1. ทีเอ็มบี คาดที่ประชุม กนง. วันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะคง ดบ.นโยบาย ที่ระดับร้อยละ 1.5
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 ธ.ค. 58 จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 1.50 หลังความเชื่อมั่นทั้งในส่วนของผู้บริโภค และภาคธุรกิจส่งสัญญาณดีขึ้น ช่วยเกื้อหนุนการฟื้นตัวของการบริโภค และการลงทุน ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่า ทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภค และความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังเศรษฐกิจผ่านจุดต่าสุดไปแล้วไปช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 84.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 82.8 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ระดับ 63.4 ในเดือน พ.ย. 58 จากระดับ 62.2 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่ออุปสงค์ในประเทศให้ปรับตัวดีขึ้นตามดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐคาดว่าจะสามารถช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันภาวะการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนก็ยังเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ท่าให้คาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในที่ 16 ธ.ค.58 จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ย นโยบายในปี 58 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.50 (โดยมีช่วงการคาดการณ์ร้อยละ 1.25 -1.75) และ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในปี 59 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.25 - 2.25) คาดการณ์ ณ ต.ค.58
2. ยอดจองรถงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป ต่ากว่าคาดการณ์เล็กน้อย
  • นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32 หรือ มอเตอร์ เอ็กซ์โป 2015 เผยถึงตัวเลขการจับจองรถยนต์ภายในงาน 12 วัน ต่ากว่าเป้าเล็กน้อยอยู่ที่ 42,000 คัน จากที่ตั้งไว้ที่ 50,000 คัน แต่ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปริมาณการจ่าหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 30 เดือน จากผลของนโยบายรถคันแรก โดยล่าสุดในเดือน ต.ค. 58 ปริมาณการจ่าหน่ายรถยนต์นั่ง หดตัวที่ร้อยละ -19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าราคาน่ามันขายปลีกภายในประเทศจะปรับตัวลดลงก็ยังไม่เป็นการส่งผลต่อความต้องการซื้อรถยนต์ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงปริมาณผู้เข้าชมงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปที่ผ่านมาที่ค่อนข้างคึกคัก และมีการขยายตัวจากปีก่อน สะท้อนว่าผู้บริโภคยังคงสนใจ แต่อาจยังมีรายได้ไม่สูงนัก จึงไม่มีก่าลังซื้อมากพอ สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ซึ่งท่าให้ยอดจองรถยนต์ในงานยังคงต่ากว่าเป้าหมายที่วางไว้
3. ญี่ปุ่นเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. 58 หดตัวร้อยละ -1.4
  • กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -1.4 ในเดือน ต.ค. 58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล รวมทั้ง ดัชนีการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 แตะที่ 98.8 และดัชนีสินค้าคงคลังภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.9 แตะที่ 111.4
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ผลผลิตภาคภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค. 58 ที่มีการหดตัวต่อเนื่องจากร้อยละ -0.9 ในเดือนก่อนหน้า จากผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้อุปกรณ์ส่านักงาน เป็นส่าคัญ โดยส่วนหนึ่งมาจากมูลค่า การส่งออก เดือน ต.ค. 58 ที่หดตัวร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน พ.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 52.6 และ 51.6 จุด ตามล่าดับ สะท้อนกิจกรรมทั้งภาคการผลิตและบริการที่ยังปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เสถียรภาพภายในประเทศของญี่ปุ่นก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มจากร้อยละ 0.0 ในเดือนก่อน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน ขณะเดียวกัน ด้านอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 58 ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของก่าลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ