เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 30, 2017 14:43 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนเมษายน 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นำโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของ การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคเกษตรและการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"

1. ภาคใต้ : เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภค สินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 11.4 และ 40.7 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในหลายจังหวัด สำคัญ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยะลา กระบี่ เป็นต้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการ ลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ โดยในเดือนเมษายน ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 23.9 ต่อปี ตามการขยายตัว ในเกือบทุกจังหวัด อาทิ จังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี และสตูล เป็นต้น

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากจำนวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 4.2 ล้านคนครั้ง ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 10.5 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 11.1 ต่อปี สอดคล้องกับรายได้จากการ เยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน อยู่ที่ 48,893 ล้านบาท กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 ต่อปี ตามการขยายตัวของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ขยายตัวที่ร้อยละ 14.4 และ 6.0 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ภาคเกษตรขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และกุ้งขาวแวนนาไม

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 81,366 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                      ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2      Q3       Q4         Q1     ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   6.2        6.8      9.5     6.7      1.9        2.8      2.1      2.8      3.5      3.4      2.9
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  6.2       14.2      5.0     1.5      1.5       -6.3    -19.2     -4.3      9.5     11.4     -3.1
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              7.2       -5.3      8.6    18.2      9.4       14.9     -5.4     23.1     28.4     40.7     19.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             66.0       66.8     64.9    66.1     66.1       66.4     65.1     66.6     67.5     67.5     66.7
รายได้เกษตรกร                          10.6      -11.7     -1.3    20.5     29.0       48.8     44.6     63.2     36.4     14.2     48.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -0.7        9.3      0.8    -6.4     -6.7       15.8      0.7     11.1     41.0     23.9     17.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                  4.0        9.2     -1.2     3.9      4.3      -14.1    -14.5     -6.6      -19    -14.3    -14.2
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             -30.7       27.9    -48.6    41.9    -58.1       70.7    226.7    -48.8     58.8     -1.8     55.3
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       84.8       84.1     84.3    84.4     86.4       81.8     76.6     83.6     85.1     81.3     81.7
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                        13.3        9.7     18.7    12.1     13.5        3.4      4.3      2.7      3.2     10.9      5.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                   19.0       12.9     26.7      20     20.1        1.3      9.9     -1.8     -3.5      7.7      2.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.2       -1.0      0.1     0.4      1.2        2.6      2.8      2.8      2.2      1.8      2.8
อัตราการว่างงาน                          1.3        1.3      1.4     1.2      1.5        1.5      1.4      1.5      1.6        -      1.5
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          2. ภาคตะวันออก : เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนทั้งการบริโภคสินค้าและบริการที่ปรับตัวดีขึ้น จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภค
สินค้าในหมวดสินค้าคงทนที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี ตามการขยายตัวได้ดีในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะ
จังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา และตราด เป็นต้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับการลงทุนภาคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอด
รถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 5.5 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว เป็นต้น
          ในด้านอุปทาน พบว่า การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 4.2 ล้านคนครั้ง ขยายตัว
ต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.4 ต่อปี แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี สอดคล้องกับรายได้จากการเยี่ยมเยือน
ในเดือนเมษายน อยู่ที่ 31,110 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 25.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย และชาวต่างประเทศขยายตัว ที่ร้อยละ 19.0 และ
29.4 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยสะท้อนจาก
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 105.0 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม
เครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ยานยนต์ เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ในขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่
31,637 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                      ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2      Q3      Q4         Q1     ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   0.9       -3.6     -1.1     2.0     6.3       17.0     15.9     19.0     16.1      3.4     13.3
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  4.0       20.2      2.5    -4.2    -8.0      -14.5    -21.3    -11.0    -11.2     -3.1    -12.5
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              5.3       -9.9     12.2    18.3     5.1        0.8     -9.3     19.1     -4.5     10.9      2.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             63.9       65.1     62.4    64.0    63.9       67.0     65.7     66.9     68.5     68.4     67.4
รายได้เกษตรกร                           7.7       -5.5      3.2    11.4    19.9       42.2     13.9     26.6     99.7     50.7     42.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -6.9        0.0    -13.7    -6.8    -8.6      -13.0    -16.7    -19.2     -2.4      2.7    -10.3
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -1.1       -8.5     -9.6     2.1    13.7       10.7    -15.8     27.4     23.4      5.5      9.5
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             -11.0        1.1    -46.7    56.6    77.9      -33.3    -45.1    144.5    -56.7    -95.8    -70.7
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       94.6       89.2     93.6    98.7    96.8      103.2    102.4    103.0    104.1    105.0    103.6
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                        37.1       34.1     33.3    43.6    37.8       11.6     15.1     11.9      7.9     14.4     12.3
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                   69.6       61.8     66.7    72.3    76.5       14.9     23.2     13.2      9.1     25.3     17.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.3       -0.7      0.4     0.3     1.0        2.0      2.2      2.3      1.4      0.7      2.3
อัตราการว่างงาน                          0.8        1.0      0.9     0.9     0.7        0.8      0.8      0.8      0.9        -      0.8
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน จากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว
ในอัตราเร่งที่ร้อยละ 7.9 และ 12.3 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดบึงกาฬ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และมหาสารคาม เป็นต้น ส่วนหนึ่งได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่และเงิน
ลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 10.8 และ 375.5 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวของเงินลงทุนในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ
จังหวัดนครราชสีมา และมหาสารคาม เป็นต้น
          ในด้านอุปทาน พบว่า การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดี โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 3.3 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 ต่อปี แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย
ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี ในขณะที่รายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน อยู่ที่ 5,762 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ
11.8 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการเกษตร
ปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะอ้อยโรงงานและข้าว เป็นต้น เช่นเดียวกันกับภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยสะท้อนจากดัชนีความ
เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 86.4 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่ยังเอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี ขณะที่
จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 147,274 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                       ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2      Q3       Q4         Q1     ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   8.4       13.0      9.7     5.5      5.6        0.2      0.1      1.9     -1.1     -3.9     -0.9
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  5.2       21.6      2.3     2.4     -8.4       -9.0    -15.8    -14.2      6.0      7.9     -5.9
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              0.7      -10.6      4.2     6.9      4.4        5.2      0.1     13.1      3.6     12.3      6.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             63.9       65.0     63.0    64.2     63.4       65.2     64.5     65.2     65.8     66.0     65.4
รายได้เกษตรกร                         -12.4      -22.7    -11.3    -2.9     -6.7        7.5     -6.3      5.1     28.6     31.6      7.5
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -8.8       -8.8     -7.8    -3.1    -15.3        0.9     -3.7     -0.8      6.9     10.8      2.9
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -6.6       -5.6      0.6    -2.5    -17.7       -8.7     -4.9     -5.3    -14.5    -23.2    -12.1
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม               7.3      -60.5    -19.5    16.4     82.2       40.4     59.5    -40.9    105.7    375.5     95.3
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       77.9       79.9     74.6    76.5     80.4       80.9     81.3     79.0     82.4     86.4     82.3
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                         2.0       -6.9     -3.5     9.1      8.0       16.4     24.7     10.6     13.1     10.1     14.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                    1.0       -6.5     -2.4     6.6      5.5       18.0     28.9     10.2     13.9     11.8     16.4
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.9        0.3      1.4     0.8      1.1        1.6      1.9      1.6      1.1      0.6      1.8
อัตราการว่างงาน                          0.9        0.8      1.1     0.8      0.9        1.5      1.3      1.6      1.5        -      1.5
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          4. ภาคเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน และภาคการเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี ตามการขยายตัวได้ดีจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และ
กำแพงเพชร เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 12.8 และ 22.2 ต่อปี
ตามลำดับ ตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกรและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 67.1 สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
เช่นกัน จากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร และพิษณุโลก เป็นสำคัญ
          ในด้านอุปทาน พบว่า การท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน อยู่ที่ 2.8 ล้านคน-ครั้ง ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่
ร้อยละ 6.7 ต่อปี สอดคล้องกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน อยู่ที่ 11,588 ล้านบาท เป็นการขยายตัวของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเช่นกันที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี สอดคล้อง
กับภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่
67,567 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ
หน่วย: %yoy                            ทั้งปี                    ปี 2559                                        ปี 2560
                                     2559         Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 13.1       19.9     19.0     11.4      2.5        0.0      0.5     -3.0      2.7      5.2      1.3
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 3.8       15.8      5.5      3.1    -16.3      -13.7    -18.0     -7.3    -13.8     12.8     -9.4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่             3.4       -2.8      2.7     16.3     -0.9       -0.3     -7.3     13.1     -3.9     22.2      3.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)            63.9       64.5     62.8     64.1     64.2       66.3     65.4     66.4     67.0     67.1     66.5
รายได้เกษตรกร                        -12.9      -20.0    -14.9     -3.1     -7.6        5.3     -7.6      2.0     26.9     31.9      5.3
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                 -7.5       -1.4      0.0     -4.4    -26.3       -1.3      6.3     -1.1     -9.1      6.1      0.1
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -4.6       -4.8     -5.5    -11.9      4.5       -5.4    -17.7      9.3     -3.1    -11.9     -7.0
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             11.3      130.0    -49.6     -1.2     58.7      -79.3    -91.3    -24.1    -64.8    -37.9    -73.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)      76.7       81.6     74.1     71.8     79.4       76.2     79.5     76.3     72.9     71.9     75.2
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                        0.5        5.5      6.4      7.5    -11.2        1.1      4.9     -3.8      1.6     -0.7      0.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                   3.5        9.8      8.4      8.2     -5.6        5.5      9.2     -0.8      7.5     -2.9      3.7
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)               0.9       -0.5      1.4      1.1      1.4        1.9      2.3      2.0      1.3      0.4      2.1
อัตราการว่างงาน                         0.9        0.9      0.9      0.9      1.0        1.0      0.9      1.0      1.1        -      1.0
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          5. กทม. และปริมณฑล: เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี
ตามการขยายตัวในจังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวได้ดีและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่
ที่ระดับ 64.0 สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 และ 7.4 ต่อปี
ตามลำดับ
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดี  สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 3.9 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี โดย
เป็นการขยายตัวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเป็นหลัก ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการเกษตรที่ขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะข้าว
ข้าวโพด และอ้อยโรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะอ้อยโรงงาน
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่
108,051 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                       ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   1.0        0.1      4.7      0.7     -1.5        0.8     -0.6      0.3      2.7     -4.7    -0.7
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  4.6       14.6     14.7      0.1    -14.7       -7.4    -16.9    -12.3      7.7      0.0    -6.0
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่             11.4        8.4     12.9     17.2      7.3        1.1     -6.8     11.9     -0.2      8.5     2.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             60.3       62.1     59.2     60.3     59.8       62.6     61.5     62.7     63.5     64.0    62.9
รายได้เกษตรกร                          -3.6       -6.5     -2.1      0.0     -3.6       11.6     -6.4     -1.0     49.4     27.9    11.6
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                   2.6        3.3      1.7     14.7    -10.4       -2.1    -16.4      1.2      9.2      4.3    -0.9
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                 -2.9      -15.4     -4.0      0.3      7.6        4.7     -9.5     17.0      8.1      7.4     5.3
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             -46.4      -43.4    -25.9    -62.8    -43.6       35.7     62.4     32.2     21.8    -45.0     7.5
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       89.5       89.7     89.7     88.1     90.4       89.4     90.1     88.5     89.7     85.4    88.4
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                        -1.4       31.4      8.8     -7.7    -21.4        1.0      4.6     -0.9     -2.3      0.2     0.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                  -15.3       35.9     12.1     -8.3    -42.2       -8.9     -0.9    -24.2     -6.3     -2.8    -7.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.4       -0.3      0.4      0.3      1.0        1.3      1.7      1.4      0.9      0.2     1.5
อัตราการว่างงาน                          1.0        0.9      0.9      0.9      1.1        1.0      1.0      1.0      1.0        -     1.0
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          6. ภาคกลาง : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว
ในอัตราเร่งที่ร้อยละ 10.3 และ 18.5 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะจังหวัดสิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นต้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการ
เพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกรและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 63.1 สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถ
บรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดชัยนาท สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา
          ในด้านอุปทาน พบว่า การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 1.2 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ตามการ
ขยายตัวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี สอดคล้องกับรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน อยู่ที่
2,168 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ตามการขยายตัวของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเป็นหลัก ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ยังขยายตัวได้ดี จาก
ผลผลิตสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพด และอ้อยโรงงาน
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือน
มีนาคม อยู่ที่ 27,734 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                       ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2       Q3       Q4         Q1     ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.    เม.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   4.7       -0.1      5.7     10.2      3.7       -3.5      7.4     -9.6     -7.0    -10.7    -5.5
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                 10.3       16.2     13.4     11.0     -2.9       -8.9    -18.3     -4.6     -2.0     10.3    -5.6
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              2.0       -6.8      9.3      7.2      0.3        2.2    -12.1     18.9      3.0     18.5     5.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             59.8       60.8     58.7     60.2     59.6       61.8     61.0     61.6     62.7     63.1    62.1
รายได้เกษตรกร                          -6.2      -11.1     -8.7     -3.5     -3.4        5.6     -7.7      3.0     23.8     22.5     5.6
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                   3.3        1.7      6.8     -0.5      6.1       -0.9    -18.8      4.4     21.2     -1.8    -1.1
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -18.2      -12.3    -27.7    -11.0    -19.1        1.0    -13.4     20.7      1.0     11.5     3.7
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             -54.4        6.4    -60.5    -81.9    -60.5       10.2    160.9    -30.5    -46.1    -47.9     0.9
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       89.5       89.7     89.7     88.1     90.4       89.4     90.1     88.5     89.7     85.4    88.4
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                         9.9       16.7     17.2      6.3      4.7        1.8      0.8      3.6      1.1      2.5     2.0
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                   17.5       31.6     35.1     14.9      2.4        3.2      3.6      3.5      2.3      3.2     3.2
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.7        0.0      1.1      0.7      0.9        1.5      1.9      1.7      0.9      0.3     1.8
อัตราการว่างงาน                          1.5        1.3      1.8      1.4      1.4        1.7      1.7      1.7      1.5        -     1.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          7. ภาคตะวันตก : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดราชบุรี และ
สมุทรสงคราม เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน โดยดูจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 16.4 และ 11.2 ต่อปี
ตามลำดับ ตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกรและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 63.1
          ในด้านอุปทาน พบว่า การท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ และเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค โดยในเดือนเมษายน มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 2.4
ล้านคนครั้ง ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.1 ต่อปี ตามการขยายตัวทั้งผู้เยี่ยมเยือนคนไทยและคนต่างประเทศที่ร้อยละ 11.7 และ 6.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้จากการเยี่ยมเยือน
ในเดือนเมษายน อยู่ที่ 7,384 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 21.7 ต่อปี ตามการขยายตัวของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนทั้งคนไทยและคนต่างประเทศที่ร้อยละ 20.4 และ 27.3 ต่อปี
ตามลำดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นจากผลผลิตสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเดือนเมษายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 14,210 คน
คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
หน่วย: %yoy                         ทั้งปี 2559                    ปี 2559                                        ปี 2560
                                                    Q1      Q2       Q3       Q4        Q1      ม.ค.    ก.พ.      มี.ค.   เม.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                 -20.00     -18.60  -17.60   -24.50   -18.80    -12.80   -17.80   -11.70    -8.60    1.20    -9.20
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  9.00      16.20    8.80    10.90    -4.50    -14.00   -15.80   -16.30    -9.30   16.40     -8.90
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              5.30       1.10    5.70    15.70    -0.10     -5.50   -19.00    10.40    -4.50   11.20     -2.30
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             59.80      60.80   58.70    60.20    59.60     61.80    61.00    61.60    62.70   63.10     62.10
รายได้เกษตรกร                         -15.50     -17.60  -18.70     9.30   -16.70     -0.40    -9.50    -4.40    19.60   24.70     -0.40
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                 -16.20      -4.10  -12.90   -15.50   -34.40     -4.90    -4.30    -9.60    -1.40   -4.90     -4.90
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                -16.00     -19.80   -7.00   -19.30   -17.10     -4.10    -8.00   -17.00    17.70   -3.20     -3.90
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม              -2.40   1,402.70  147.50   -36.70   -78.60    -89.50   -82.30   -94.30   -80.40  -72.90    -84.10
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       89.50      89.70   89.70    88.10    90.40     89.40    90.10    88.50    89.70   85.40     88.40
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                         0.50      -5.80   -4.60     4.60     6.00     10.90     6.60    17.50     9.30   11.10     11.00
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                    8.50      -3.10    5.70    10.20    18.80     23.40    16.70    36.10    18.60   21.70     23.00
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                1.00      -0.40    1.20     1.20     1.80      2.30     2.80     2.40     1.60    0.60      2.60
อัตราการว่างงาน                          0.70       0.60    0.80     0.80     0.60      0.60     0.40     0.60     0.70       -      0.60
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัย
ตลาดการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ