สวนดุสิตโพล: ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี “6 นโยบายเร่งด่วน” ของกระบวนการยุติธรรม

ข่าวผลสำรวจ Thursday September 29, 2016 11:16 —สวนดุสิตโพล

สำนักงานกิจการยุติธรรม” ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ร่วมกับ “สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณี นโยบายเร่งด่วนของกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนคิดว่าภาครัฐควรเร่งจัดสรร งบประมาณ และวิธีดำเนินการเพื่อให้นโยบายเหล่านี้เห็นผลเป็นรูปธรรมและเป็นที่พึงพอใจของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 636 คน สำรวจระหว่างวันที่ 22-27 กันยายน 2559 สรุปผล ได้ดังนี้

1. “6 นโยบายเร่งด่วน” ที่ประชาชนคิดว่าภาครัฐควรเร่งจัดสรรงบประมาณมากที่สุด
อันดับ 1   การพัฒนา ปรับปรุง และบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ                                        70.84%
อันดับ 2   การพัฒนาระบบการป้องกันอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพ                                          64.02%
อันดับ 3   การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน                       63.81%
อันดับ 4   การพัฒนาระบบการบริการของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ                                    59.71%
อันดับ 5   การพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้มีประสิทธิภาพ                                     53.51%
อันดับ 6   การพัฒนาระบบควบคุม แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือดูแลผู้พ้นโทษ                            40.43%

2. จาก “6 นโยบายเร่งด่วน” ประชาชนคิดว่ากระบวนการยุติธรรมควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้นโยบายเหล่านี้เห็นผลเป็นรูปธรรมและเป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากที่สุด

(2.1) การพัฒนาระบบการบริการของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ  ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   กำหนดระยะเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง     75.91%
อันดับ 2   นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริการประชาชน เช่น การให้บริการผ่าน Internet      65.24%
หรือ Application บนโทรศัพท์มือถือ
อันดับ 3   ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการให้เป็นแบบเบ็ดเสร็จในที่สถานที่เดียว (One Stop Service)             64.37%
อันดับ 4   ให้ประชาชนประเมินหรือให้คะแนนความพึงพอใจในการรับบริการ ณ จุดรับบริการ                       58.67%

(2.2) การพัฒนาระบบควบคุม แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือดูแลผู้พ้นโทษ ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   จัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ในการดูแล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ฟื้นฟูแก่ผู้พ้นโทษโดยเฉพาะ                  69.94%
อันดับ 2   สร้างระบบในการดูแลผู้พ้นโทษในระยะแรกที่ได้รับการปล่อยตัว เช่น จ้างงานในหน่วยงานรัฐในระยะสั้น       69.36%
จัดหาที่พักอาศัยให้ในช่วงแรก
อันดับ 3   นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุม แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้มากขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือ      68.20%
อิเล็กทรอนิกส์ (EM) มาใช้ควบคุมตัวผู้กระทำผิด
อันดับ 4   ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้สังคมยอมรับและให้โอกาสผู้พ้นโทษ                                     59.00%

(2.3) การพัฒนาระบบการป้องกันอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   เพิ่มสายตรวจลาดตระเวน ติดตั้งกล้องวงจรปิด เพิ่มเสาไฟส่องสว่างในพื้นที่มืดอันตราย                   75.33%
อันดับ 2   ปรับปรุงสถานีตำรวจให้มีความทันสมัย มีความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกด้าน      67.04%
อันดับ 3   สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยต่ออาชญากรรมและประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบ                      62.46%
อันดับ 4   สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังแจ้งเบาะแสอาชญากรรม                          60.23%

(2.4) การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   ผลักดันให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายและปลูกฝังการสร้างจิตสำนึก               73.22%
ในการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่เด็กและเยาวชนในทุกระดับ
อันดับ 2   จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น Infographic หรือการ์ตูน                         68.26%
อันดับ 3   เผยแพร่ผ่านช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เช่น โทรทัศน์  Internet  Application               66.00%
อันดับ 4   เผยแพร่กฎหมายหรือระเบียบที่ออกใหม่ให้ประชาชนได้รับทราบเป็นระยะๆ                             59.16%

(2.5) การพัฒนา ปรับปรุง และบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำการทุจริต หรือไม่บังคับใช้กฎหมายตามหน้าที่อย่างจริงจัง                       80.20%
อันดับ 2   เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกหรือปรับปรุงกฎหมาย                                   63.06%
อันดับ 3   ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน                                    62.16%
อันดับ 4   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบการฝ่าฝืนกฎหมายให้มากขึ้น เช่น อุปกรณ์ตรวจจับความเร็ว     57.17%
กล้องตรวจจับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร

(2.6) การพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังนี้
อันดับ 1   ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลและผลดีของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก/การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท     76.16%
อันดับ 2   ส่งเสริมบทบาทของผู้นำชุมชน/เครือข่ายโดยการอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือก/      67.38%
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
อันดับ 3   เร่งรัดและผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว              65.57%
อันดับ 4   เปิดโอกาสให้เครือข่ายหรืออาสาสมัครสามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพพาทได้                        54.78%

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ